ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 65
man-manā bhava mad-bhakto
mad-yājī māṁ namaskuru
mām evaiṣyasi satyaṁ te
pratijāne priyo ’si me
mad-yājī māṁ namaskuru
mām evaiṣyasi satyaṁ te
pratijāne priyo ’si me
มนฺ-มนา ภว มทฺ-ภกฺโต
มทฺ-ยาชี มำ นมสฺกุรุ
มามฺ เอไวษฺยสิ สตฺยํ เต
ปฺรติชาเน ปฺริโย ’สิ เม
มทฺ-ยาชี มำ นมสฺกุรุ
มามฺ เอไวษฺยสิ สตฺยํ เต
ปฺรติชาเน ปฺริโย ’สิ เม
มตฺ-มนาห์ — ระลึกถึงข้า, ภว — เพียงมาเป็น, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, มตฺ-ยาชี — เป็นผู้บูชาข้า, มามฺ — แด่ข้า, นมสฺกุรุ — ถวายความเคารพ, มามฺ — แด่ข้า, เอว — แน่นอน, เอษฺยสิ — เธอจะมา, สตฺยมฺ — อย่างแท้จริง, เต — แก่เธอ, ปฺรติชาเน — ข้าสัญญา, ปฺริยห์ — ที่รัก, อสิ — เธอเป็น, เม — ของข้า
คำแปล
ระลึกถึงข้าเสมอ
คำอธิบาย
ส่วนลับที่สุดของความรู้คือ มาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์กฺฤษฺณ ระลึกถึงพระองค์เสมอ และปฏิบัติเพื่อพระองค์ เราไม่ควรเป็นนักปฏิบัติสมาธิแค่เป็นเพียงพิธีกรรมแต่ควรหล่อหลอมชีวิตให้มีโอกาสระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเสมอ เราควรปฏิบัติในวิธีที่กิจกรรมประจำวันของเราทั้งหมดเชื่อมสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ และควรตระเตรียมชีวิตให้เป็นเช่นนี้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงจนไม่สามารถคิดถึงอย่างอื่นนอกจากองค์กฺฤษฺณ และคำสัญญาขององค์ภควานฺก็คือ ผู้ใดที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริสุทธิ์เช่นนี้จะกลับคืนสู่พระตำหนักของพระองค์ สถานที่ที่เราจะปฏิบัติอย่างใกล้ชิดและอยู่กับองค์กฺฤษฺณซึ่งๆหน้า ส่วนลับที่สุดของความรู้นี้ได้ตรัสแก่ อรฺชุน เพราะว่า อรฺชุน ทรงเป็นสหายรักขององค์กฺฤษฺณ ทุกๆคนที่ปฏิบัติตามวิถีทางของ อรฺชุน จะกลายมาเป็นสหายรักขององค์งกฺฤษฺณ และจะบรรลุถึงความสมบูรณ์เหมือนกับ อรฺชุน
คำพูดเหล่านี้เน้นว่าเราควรตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณรูปลักษณ์สองกร ทรงขลุ่ย เด็กน้อยที่มีผิวสีน้ำเงิน มีดวงหน้าอันงดงาม และมีหางนกยูงประดับอยู่ที่พระเกศา มีคำพรรณนาถึงองค์กฺฤษฺณที่พบใน พฺรหฺม-สํหิตา และวรรณกรรมอื่นๆ เราควรตั้งจิตมั่นอยู่ที่รูปลักษณ์เดิมแท้ขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณโดยไม่เบี่ยงเบนความสนใจไปที่รูปลักษณ์อื่นใดของพระองค์ องค์ภควานฺทรงมีรูปลักษณ์มากมาย เช่น พระวิษฺณุ พระนารายณ์ พระราม พระวราห ฯลฯ แต่สาวกควรตั้งสมาธิจิตอยู่ที่รูปลักษณ์ที่ทรงปรากฏอยู่ต่อหน้า อรฺชุน การตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณเป็นส่วนลับที่สุดของความรู้ และได้เปิดเผยต่อ อรฺชุน เช่นนี้เพราะว่า อรฺชุน ทรงเป็นสหายที่รักยิ่งขององค์กฺฤษฺณ