ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 1

sañjaya uvāca
taṁ tathā kṛpayāviṣṭam
aśru-pūrṇākulekṣaṇam
viṣīdantam idaṁ vākyam
uvāca madhusūdanaḥ
สญฺชย อุวาจ
ตํ ตถา กฺฤปยาวิษฺฏมฺ
อศฺรุ-ปูรฺณากุเลกฺษณมฺ
วิษีทนฺตมฺ อิทํ วากฺยมฺ
อุวาจ มธุสูทนห์
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, ตมฺ — แด่ อรฺชุน, ตถา — ดังนั้น, กฺฤปยา — ด้วยความสงสาร, อาวิษฺฏมฺ — เต็มตื้น, อศฺรุ-ปูรฺณ-อากุล — เปี่ยมไปด้วยน้ำตา, อีกฺษณมฺ — ดวงตา, วิษีทนฺตมฺ — เศร้าโศก, อิทมฺ — เหล่านี้, วากฺยมฺ — คำพูด, อุวาจ — กล่าว, มธุ-สูทนห์ — ผู้สังหาร มธุ

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า ได้เห็น อรฺชุน ทรงเปี่ยมไปด้วยความเมตตาสงสาร จิตใจเศร้าสลด ดวงตาเปี่ยมไปด้วยน้ำตา มธุสูทน กฺฤษฺณ ตรัสดังต่อไปนี้

คำอธิบาย

ความเมตตาสงสารทางวัตถุ ความเศร้าโศกเสียใจ และน้ำตาทั้งหมดนี้คือ สัญลักษณ์แห่งอวิชชาต่อดวงชีวิตที่แท้จริง ความเมตตาสงสารต่อดวงวิญญาณอมตะนั้นคือ ความรู้แจ้ง คำว่า มธุสูทน มีความสำคัญในโศลกนี้ องค์กฺฤษฺณทรงสังหารอสูร มธุ และบัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาให้องค์กฺฤษฺณสังหารมารแห่งความเข้าใจผิดที่ได้มาครอบงำพระองค์ในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีใครรู้ว่าควรนำความเมตตากรุณาไปใช้อย่างไร การเมตตาต่อเสื้อผ้าของคนที่กำลังจมน้ำนั้นเป็นเรื่องไร้เหตุผล เราไม่สามารถที่จะช่วยเหลือเสื้อผ้า หรือช่วยร่างวัตถุที่หยาบของผู้ที่กำลังตกอยู่ในมหาสมุทรแห่งอวิชชาได้ ผู้ไม่ทราบเช่นนี้และเศร้าโศกเสียใจกับเสื้อผ้าภายนอกเรียกว่า ศูทฺร หรือผู้ที่โศกเศร้าโดยไม่จำเป็น อรฺชุน ทรงเป็น กฺษตฺริย จึงไม่สมควรกระทำเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ศฺรี กฺฤษฺณ ทรงสามารถปัดเป่าความโศกเศร้าของผู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำได้ และด้วยจุดประสงค์นี้พระองค์จึงทรงขับร้องเพลง ภควัท-คีตา บทนี้ ทรงแนะนำเราให้รู้สำนึกตนเองด้วยการวิเคราะห์ศึกษาร่างวัตถุและดวงวิญญาณดังที่ได้อธิบายไว้โดยผู้ที่เชื่อถือได้สูงสุดคือองค์ศฺรีกฺฤษฺณ การรู้แจ้งเช่นนี้เป็นไปได้เมื่อเราทำงานโดยไม่ยึดติดต่อผลทางวัตถุ และสถิตในแนวคิดแห่งตนเองที่แท้จริงอย่างมั่นคง