ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 10
tam uvāca hṛṣīkeśaḥ
prahasann iva bhārata
senayor ubhayor madhye
viṣīdantam idaṁ vacaḥ
prahasann iva bhārata
senayor ubhayor madhye
viṣīdantam idaṁ vacaḥ
ตมฺ อุวาจ หฺฤษีเกศห์
ปฺรหสนฺนฺ อิว ภารต
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
วิษีทนฺตมฺ อิทํ วจห์
ปฺรหสนฺนฺ อิว ภารต
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
วิษีทนฺตมฺ อิทํ วจห์
ตมฺ — แต่เขา, อุวาจ — ตรัส, หฺฤษีเกศห์ — องค์กฺฤษฺณ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส, ปฺรหสนฺ — ทรงแย้มพระสรวล, อิว — เหมือนเช่นนั้น, ภารต โอ้ ธฺฤตราษฺฏฺร ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, เสนโยห์ — ของศัตรู, อุภโยห์ — ของทั้งสองฝ่าย, มเธฺย — ระหว่าง, วิษีทนฺตมฺ — แด่ผู้ที่มีความโศกเศร้า, อิทมฺ — ต่อไปนี้, วจห์ — คำพูด
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
การสนทนาได้ดำเนินต่อไประหว่างสหายสนิทผู้ทรงมีพระนามว่า หฺฤษีเกศ และ คุฑาเกศ ในฐานะที่เป็นสหายทั้งคู่ทรงอยู่ในระดับเดียวกัน แต่องค์หนึ่งอาสามาเป็นศิษย์ องค์กฺฤษฺณทรงแย้มพระสรวลเพราะสหายของพระองค์ยอมมาเป็นศิษย์ ในฐานะที่เป็นเจ้าของมวลชีวิตพระองค์ทรงอยู่ในสถานภาพที่เหนือกว่าคือ เป็นพระอาจารย์ของทุกๆชีวิต แต่พระองค์ทรงยอมเป็นสหาย เป็นโอรส หรือเป็นที่รักของสาวกผู้ปรารถนาที่จะให้พระองค์แสดงบทเหล่านี้ เมื่อได้รับการยอมรับให้เป็นพระอาจารย์ก็ทรงรับบทนี้ทันที และตรัสต่อสาวกเยี่ยงพระอาจารย์ด้วยสุรเสียงอันหนักแน่น การสนทนาระหว่างพระอาจารย์ และศิษย์ได้มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผยต่อหน้ากองทัพทั้งสองฝ่ายเพื่อประโยชน์ของทุกคน ฉะนั้นการสนทนา ภควัท-คีตา มิใช่สำหรับเฉพาะบุคคล สมาคม หรือเฉพาะสังคมใดสังคมหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นมิตร หรือเป็นศัตรูก็มีสิทธิ์รับฟังได้เท่าเทียมกัน