ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 18

antavanta ime dehā
nityasyoktāḥ śarīriṇaḥ
anāśino ’prameyasya
tasmād yudhyasva bhārata
อนฺตวนฺต อิเม เทหา
นิตฺยโสฺยกฺตาห์ ศรีริณห์
อนาศิโน ’ปฺรเมยสฺย
ตสฺมาทฺ ยุธฺยสฺว ภารต
อนฺต-วนฺตห์ — เสื่อมสลาย, อิเม — ทั้งหมดนี้, เทหาห์ — ร่างกายวัตถุ, นิตฺยสฺย — เป็นอยู่ชั่วนิรันดร, อุกฺตาห์ — ถูกกล่าวไว้, ศรีริณห์ — แห่งดวงวิญญาณที่อยู่ในร่าง, อนาศินห์ — ไม่มีวันถูกทำลาย, อปฺรเมยสฺย — วัดไม่ได้, ตสฺมาตฺ — ฉะนั้น, ยุธฺยสฺว — ต่อสู้, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต

คำแปล

ร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิต ผู้ไม่มีวันถูกทำลาย วัดขนาดไม่ได้ และเป็นอมตะ จะต้องจบสิ้นลงอย่างแน่นอน ฉะนั้น โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต เธอจงสู้

คำอธิบาย

ร่างวัตถุต้องเสื่อมสลายตามธรรมชาติ มันอาจเสื่อมสลายในทันทีทันใดหรืออาจจะเสื่อมสลายหนึ่งร้อยปีจากนี้ไปเพียงแต่รอเวลาเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่เราจะรักษามันไว้ได้ชั่วกัลปวสาน แต่ละอองวิญญาณที่มีขนาดเล็กมากจนศัตรูมองไม่เห็นจะถูกฆ่าได้อย่างไร ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกก่อนว่า เล็กมากจนไม่มีใครสามารถคิดได้ว่าจะวัดขนาดได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อมองจากทั้งสองด้านจึงไม่มีเหตุที่ทำให้ต้องเสียใจเพราะว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีวันถูกฆ่าได้ และร่างวัตถุก็ไม่มีใครสามารถรักษาไว้ได้นานหรือปกป้องไว้จนชั่วนิรันดรได้ ละอองเล็กๆของดวงวิญญาณได้ร่างวัตถุนี้มาตามผลกรรม ฉะนั้นการปฏิบัติตามหลักธรรมศาสนาควรทำให้เป็นประโยชน์ ใน เวทานฺต-สูตฺร สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติเป็นแสง เพราะว่าเขาเป็นละอองอณูของแสงรัศมีที่สูงสุด ดังเช่นแสงอาทิตย์ค้ำจุนทั่วทั้งจักรวาล ดังนั้นแสงแห่งดวงวิญญาณค้ำจุนร่างวัตถุนี้ ทันทีที่ดวงวิญญาณออกจากร่างวัตถุร่างนี้ก็จะเริ่มเน่าเปื่อยลง ฉะนั้นดวงวิญญาณจึงเป็นผู้ค้ำจุนร่างกายวัตถุนี้ ตัวของร่างกายเองนั้นไม่ได้สำคัญ อรฺชุน ทรงได้รับการแนะนำให้ต่อสู้ และมิให้เสียสละเหตุผลทางศาสนาเพียงจากการพิจารณาแค่ร่างกายวัตถุเท่านั้น