ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 21
vedāvināśinaṁ nityaṁ
ya enam ajam avyayam
kathaṁ sa puruṣaḥ pārtha
kaṁ ghātayati hanti kam
ya enam ajam avyayam
kathaṁ sa puruṣaḥ pārtha
kaṁ ghātayati hanti kam
เวทาวินาศินํ นิตฺยํ
ย เอนมฺ อชมฺ อวฺยยมฺ
กถํ ส ปุรุษห์ ปารฺถ
กํ ฆาตยติ หนฺติ กมฺ
ย เอนมฺ อชมฺ อวฺยยมฺ
กถํ ส ปุรุษห์ ปารฺถ
กํ ฆาตยติ หนฺติ กมฺ
เวท — รู้, อวินาศินมฺ — ไม่ถูกทำลาย, นิตฺยมฺ — เป็นอยู่เสมอ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, เอนมฺ — นี้ (ดวงวิญญาณ), อชมฺ — ไม่เกิด, อวฺยยมฺ — ไม่เปลี่ยนแปลง, กถมฺ — อย่างไร, สห์ — นั้น, ปุรุษห์ — บุคคล, ปารฺถ — โอ้ ปารฺถ (อารจุนะ), กมฺ — ผู้ซึ่ง, ฆาตยติ — ต้นเหตุที่ทำให้เจ็บ, หนฺติ สังหาร, กมฺ — ผู้ซึ่ง
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนจะมีประโยชน์ในการใช้สอยอยู่ในตัวมันเองแล้วแต่ตามความเหมาะสม ผู้ที่มีความรู้สมบูรณ์นั้นจะรู้ว่าควรใช้สิ่งต่างๆให้เป็นประโยชน์ตามความเหมาะสมในตัวมันเองได้อย่างไรและเมื่อไร เช่นเดียวกับความรุนแรงก็มีประโยชน์ในตัวมันเอง และการที่จะใช้ความรุนแรงอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่มีความรู้ ถึงแม้ว่าศาลสถิตยุติธรรมจะสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้ทำผิดฐานฆ่าคนตาย ไม่มีใครสามารถที่จะไปกล่าวโทษศาลในการตัดสินลงโทษอย่างรุนแรงต่อบุคคลนั้นตามกฎหมายแห่งความยุติธรรมได้ ใน มนุ-สํหิตา ซึ่งเป็นกฎหมายสำหรับมนุษยชาติได้สนับสนุนว่า ผู้ฆ่าคนควรจะถูกลงโทษถึงชีวิตเพื่อในชาติหน้าจะได้ไม่ต้องมารับทุกข์ต่อบาปอันยิ่งใหญ่ที่ตนได้กระทำไว้ ฉะนั้น กฺษตฺริย ที่ลงโทษผู้ต้องหาฆ่าคนด้วยการแขวนคออันที่จริงแล้วเป็นประโยชน์ ในทำนองเดียวกันเมื่อองค์กฺฤษฺณทรงสั่งให้ต่อสู้ต้องสรุปได้ว่าความรุนแรงเช่นนี้เป็นไปเพื่อความยุติธรรมสูงสุด ดังนั้น อรฺชุน ทรงควรปฏิบัติตามคำสั่ง และควรรู้ดีด้วยว่าความรุนแรงเช่นนี้ทำไปเพื่อต่อสู้ให้องค์กฺฤษฺณซึ่งมิใช่เป็นความรุนแรงอะไรเลย เพราะว่าดวงชีวิตหรือดวงวิญญาณจะไม่มีวันถูกสังหารอยู่แล้ว เพื่อบริหารความยุติธรรมสิ่งที่เรียกว่าความรุนแรงจึงได้รับอนุญาต การผ่าตัดคนไข้มิได้หมายความว่าจะสังหารคนไข้แต่เป็นการรักษา ดังนั้นการต่อสู้ที่ อรฺชุน ทรงปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์กฺฤษฺณ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความรู้นั้นจึงไม่มีผลบาป