ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 24
acchedyo ’yam adāhyo ’yam
akledyo ’śoṣya eva ca
nityaḥ sarva-gataḥ sthāṇur
acalo ’yaṁ sanātanaḥ
akledyo ’śoṣya eva ca
nityaḥ sarva-gataḥ sthāṇur
acalo ’yaṁ sanātanaḥ
อจฺเฉโทฺย ’ยมฺ อทาโหฺย ’ยมฺ
อเกฺลโทฺย ’โศษฺย เอว จ
นิตฺยห์ สรฺว-คตห์ สฺถาณุรฺ
อจโล ’ยํ สนาตนห์
อเกฺลโทฺย ’โศษฺย เอว จ
นิตฺยห์ สรฺว-คตห์ สฺถาณุรฺ
อจโล ’ยํ สนาตนห์
อจฺเฉทฺยห์ — ไม่มีวันแตก, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อทาหฺยห์ — ไม่สามารถถูกเผา, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, อเกฺลทฺยห์ — ละลายไม่ได้, อโศษฺยห์ — ไม่แห้ง, เอว — แน่นอน, จ — และ, นิตฺยห์ — นิรันดร, สรฺว-คตห์ — แผ่กระจายไปทั่ว, สฺถาณุห์ — ไม่เปลี่ยนแปลง, อจลห์ — ไม่เคลื่อนไหว, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, สนาตนห์ — เหมือนเดิมนิรันดร
คำแปล
ปัจเจกวิญญาณไม่แตกสลาย
คำอธิบาย
คุณสมบัติทั้งหมดนี้ของละอองวิญญาณเป็นที่พิสูจน์ได้ว่าปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูของดวงวิญญาณสูงสุดอย่างแน่นอน และจะคงเป็นละอองอณูเหมือนเดิมนิรันดรโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีนี้ทฤษฏีของลัทธิที่ว่าใจและกายเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าปัจเจกวิญญาณไม่มีทางที่จะมาเป็นเนื้อเดียวกันกับวัตถุ หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากมลทินทางวัตถุ ละอองวิญญาณบางดวงอาจพอใจอยู่เป็นประกายทิพย์ในแสงรัศมีของบุคลิกภาพสูงสุดของพระเจ้า แต่ดวงวิญญาณที่มีปัญญาจะเข้าไปในโลกทิพย์เพื่ออยู่ร่วมกับบุคลิกภาพแห่งองค์ภควานฺ
คำว่า สรฺว-คต (แผ่กระจายไปทั่ว) มีความสำคัญเพราะว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง จากการสร้างขององค์ภควานฺพวกเขาอยู่บนบก อยู่ในน้ำ อยู่ในอากาศ อยู่ในดิน และแม้กระทั่งอยู่ในไฟ ความเชื่อที่ว่าดวงวิญญาณจะถูกฆ่าด้วยไฟไม่เป็นที่ยอมรับเพราะได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า ดวงวิญญาณไม่สามารถถูกเผาไหม้ด้วยไฟ ฉะนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในดวงอาทิตย์ด้วยร่างอันเหมาะสมได้หรือไม่ หากดวงอาทิตย์เป็นที่อยู่อาศัยไม่ได้คำว่า สรฺว-คต “อาศัยอยู่ทุกหนทุกแห่ง” ก็จะไม่มีความหมาย