ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 26

atha cainaṁ nitya-jātaṁ
nityaṁ vā manyase mṛtam
tathāpi tvaṁ mahā-bāho
nainaṁ śocitum arhasi
อถ ไจนํ นิตฺย-ชาตํ
นิตฺยํ วา มนฺยเส มฺฤตมฺ
ตถาปิ ตฺวํ มหา-พาโห
ไนนํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
อถ — ถ้า อย่างไรก็ดี, — เช่นกัน, เอนมฺ — ดวงวิญญาณนี้, นิตฺย-ชาตมฺ — เกิดอยู่เสมอ, นิตฺยมฺ — นิรันดร, วา — ไม่ก็, มนฺยเส — คุณคิดเช่นนั้น, มฺฤตมฺ — ตาย, ตถา อปิ — ยัง, ตฺวมฺ — ท่าน, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยิ่งใหญ่, — ไม่เคย, เอนมฺ — เกี่ยวกับดวงวิญญาณ, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ

คำแปล

อย่างไรก็ดี ถ้าหากเธอคิดว่าดวงวิญญาณ (หรือลักษณะอาการของชีวิต) มีการเกิดและตายชั่วนิรันดร เธอก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องโศกเศร้า โอ้ ยอดนักรบ

คำอธิบาย

มักจะมีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งคล้ายกับ ศูนฺยวาทิ ที่ไม่เชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณนอกเหนือจากร่างกาย เมื่อองค์ศฺรีกฺฤษฺณตรัส ภควัท-คีตา ปรากฏว่ามีนักปราชญ์กลุ่มที่ชื่อ โลกายติก และ ไวภาษิก นักปราชญ์เหล่านี้เชื่อว่าลักษณะอาการของชีวิตเกิดขึ้นภายใต้สภาวะอันสมบูรณ์เต็มที่จากการผสมผสานทางวัตถุ นักวิทยาศาสตร์ทางวัตถุสมัยปัจจุบันและนักปราชญ์ทางวัตถุก็มีแนวคิดเช่นเดียวกันตามความเชื่อที่ว่าร่างกายคือ การผสมผสานของธาตุวัตถุ และเมื่อมาถึงจุดๆหนึ่งลักษณะอาการของชีวิตจะเกิดขึ้นเนื่องมาจากการผสมผสานของธาตุวัตถุและสารเคมี ศาสตร์แห่งมนุษยวิทยาก็มีแนวคิดพื้นฐานมาจากปรัชญานี้ ปัจจุบันมีศาสนาจอมปลอมที่เป็นแฟชั่นอยู่ในสหรัฐอเมริกามากมายก็ยึดหลักปรัชญานี้เช่นกัน รวมทั้งนิกายของ ศูนฺยวาทิ ที่ไม่มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้

และถึงแม้ว่า อรฺชุน จะทรงไม่เชื่อในความมีอยู่จริงของดวงวิญญาณเหมือนดังปรัชญา ไวภาษิก ก็ยังไม่ควรเป็นเหตุให้ต้องเศร้าโศก ไม่มีใครควรเสียใจในการสูญเสียวัตถุสารเคมีไปบางส่วนถึงกับต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่การงานของตนที่กำหนดไว้ อีกด้านหนึ่งสารเคมีเป็นตันๆได้สูญเสียไปกับวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันและสงครามวิทยาศาสตร์เพื่อเอาชนะศัตรู ตามปรัชญา ไวภาษิก สิ่งที่เรียกว่าดวงวิญญาณหรือ อาตฺมา จะสูญสลายไปพร้อมกับการเสื่อมโทรมของร่างกาย ฉะนั้นไม่ว่าจะพิจารณาในกรณีใด อรฺชุน จะทรงยอมรับข้อสรุปของพระเวทว่ามีดวงวิญญาณจริงหรือไม่เชื่อว่าดวงวิญญาณมีอยู่จริงพระองค์ก็ทรงไม่มีเหตุผลที่จะต้องเศร้าโศก จากทฤษฎีนี้ที่ว่าทุกๆนาทีจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดจากวัตถุมากมายและก็ตายจากไปทุกๆนาทีจึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องโศกเศร้าต่อเหตุการณ์เช่นนี้ หากดวงวิญญาณไม่มีการเกิดอีก อรฺชุน ก็ทรงไม่มีเหตุผลต้องกลัวผลบาปอันเนื่องมาจากการสังหารพระอัยกาและพระอาจารย์ แต่ในขณะเดียวกันองค์กฺฤษฺณทรงตรัสกระทบด้วยการเรียก อรฺชุน ว่า มหา-พาหุ ยอดนักรบเพราะว่าอย่างน้อยก็ทรงไม่ยอมรับทฤษฎีของ ไวภาษิก ซึ่งทฤฎีนั้นจะปฏิเสธปรัชญาพระเวท ในฐานะที่เป็น กฺษตฺริย อรฺชุน ทรงอยู่ในวัฒนธรรมพระเวทจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นต่อไป