ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 27

jātasya hi dhruvo mṛtyur
dhruvaṁ janma mṛtasya ca
tasmād aparihārye ’rthe
na tvaṁ śocitum arhasi
ชาตสฺย หิ ธฺรุโว มฺฤตฺยุรฺ
ธฺรุวํ ชนฺม มฺฤตสฺย จ
ตสฺมาทฺ อปริหาเรฺย ’รฺเถ
น ตฺวํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
ชาตสฺย — สำหรับผู้ที่เกิดมาแล้ว, หิ — แน่นอน, ธฺรุวห์ — ความจริง, มฺฤตฺยุห์ — ความตาย, ธฺรุวมฺ — และก็เป็นความจริงอีกเช่นเดียวกัน, ชนฺม — การเกิด, มฺฤตสฺย — แห่งความตาย, — เช่นกัน, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, อปริหาเรฺย — ในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้, อรฺเถ — ในเรื่องนี้, — ไม่, ตฺวมฺ — ท่าน, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ

คำแปล

ผู้ที่เกิดมาแล้วจะต้องตายอย่างแน่นอน และหลังจากตายไปแล้วก็ต้องกลับมาเกิดใหม่อย่างแน่นอน ฉะนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเธอนั้น เธอจึงไม่ควรเศร้าโศก

คำอธิบาย

เราต้องเกิดตามผลกรรมแห่งชีวิต และหลังจากเสร็จสิ้นกรรมชาติหนึ่งแล้วเราก็ต้องตายเพื่อไปเกิดชาติหน้า เช่นนี้เราจึงต้องผ่านวัฏจักรการเกิดและการตายอย่างไม่มีวันหลุดพ้นและเป็นอิสระ อย่างไรก็ดีวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายนี้มิได้เป็นการส่งเสริมให้เราทำการสังหารเข่นฆ่าและทำสงครามโดยไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันความรุนแรงและสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมมนุษย์เพื่อรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย

สงครามที่ กุรุกฺเษตฺร เป็นพระราชประสงค์ขององค์ภควานฺ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และการต่อสู้เพื่อคุณธรรมเป็นหน้าที่ของ กฺษตฺริย ทำไม อรฺชุน ทรงต้องกลัวหรือเสียใจในการตายของสังคญาติ ในเมื่อทรงปฏิบัติตามหน้าที่อย่างถูกต้องไม่ได้ทำผิดกฎหมายจึงไม่ต้องรับผลบาปซึ่งรู้สึกกลัวยิ่งนัก การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ที่เราควรจะทำนั้นไม่สามารถหยุดความตายของบรรดาสังคญาติได้ แต่จะทำให้ อรฺชุน เสื่อมเสียเนื่องจากการตัดสินใจเดินในทางที่ผิด