ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 3

klaibyaṁ mā sma gamaḥ pārtha
naitat tvayy upapadyate
kṣudraṁ hṛdaya-daurbalyaṁ
tyaktvottiṣṭha paran-tapa
ไกฺลพฺยํ มา สฺม คมห์ ปารฺถ
ไนตตฺ ตฺวยฺยฺ อุปปทฺยเต
กฺษุทฺรํ หฺฤทย-เทารฺพลฺยํ
ตฺยกฺโตฺวตฺติษฺฐ ปรนฺ-ตป
ไกฺลพฺยมฺ — ไร้สมรรถภาพ, มา สฺม — ไม่, คมห์ — นำไป, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, — ไม่เคย, เอตตฺ — นี้, ตฺวยิ — แก่เธอ, อุปปทฺยเต — เหมาะสม, กฺษุทฺรมฺ — เล็กน้อย, หฺฤทย — ของหัวใจ, เทารฺพลฺยมฺ — ความอ่อนแอ, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, อุตฺติษฺฐ — ลุกขึ้น, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้กำราบศัตรู

คำแปล

โอ้ โอรสแห่ง ปฺฤถา เธอจงอย่ายอมจำนนให้กับความไร้สมรรถภาพที่น่าอับอายจนไม่เป็นตัวของตัวเองเช่นนี้ จงสลัดความอ่อนแอแห่งจิตใจเพียงเล็กน้อยนี้ออกไปให้พ้น และลุกขึ้นมาสู้ โอ้ ผู้กำราบศัตรู

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงถูกเรียกว่าโอรสของ ปฺฤถา ผู้ทรงเป็นพระขนิษฐภคินีของ วสุเทว พระบิดาขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้น อรฺชุน ทรงมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับองค์กฺฤษฺณ หากโอรส กฺษตฺริย ปฏิเสธการสู้รบผู้นั้นก็เป็น กฺษตฺริย แต่เพียงในนามเท่านั้น และหากบุตรของ พฺราหฺมณ ทำบาปเขาก็เป็น พฺราหฺมณ แต่เพียงในนามเท่านั้น กฺษตฺริย และ พฺราหฺมณ เช่นนี้จะถือเป็นบุตรที่ไร้ค่าของบิดา ดังนั้นองค์กฺฤษฺณไม่ทรงปรารถนาจะให้ อรฺชุน มาเป็นโอรสของ กฺษตฺริย ที่ไร้คุณค่า อรฺชุน ทรงเป็นพระสหายที่สนิทสนมมากกับองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้นำทางของ อรฺชุน โดยตรงบนราชรถ แต่หาก อรฺชุน จะทรงละทิ้งสนามรบไปจะเป็นการกระทำที่เสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นองค์กฺฤษฺณจึงตรัสว่าท่าทีของ อรฺชุน เช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับบุคลิกภาพแห่ง กฺษตฺริย อรฺชุน ทรงอาจมีข้อโต้แย้งว่าทรงยกเลิกการสู้รบบนพื้นฐานแนวคิดแห่งคุณธรรมอันสูงส่งเพื่อผู้ที่เราควรให้ความเคารพสูงสุด เช่น ภีษฺม และบรรดาสังคญาติ แต่องค์กฺฤษฺณทรงพิจารณาว่าความมีคุณธรรมอันสูงส่งเช่นนี้เป็นเพียงความอ่อนแอแห่งจิตใจเท่านั้น ผู้ที่เชื่อถือได้จะไม่เห็นด้วยกับคุณธรรมอันสูงส่งที่ผิดเช่นนี้ ฉะนั้นคุณธรรมอันสูงส่ง หรือที่เรียกว่าอหิงสานี้บุคคล เช่น อรฺชุน นั้นควรยกเลิกภายใต้การชี้นำโดยตรงของ ศฺรี กฺฤษฺณ