ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 30

dehī nityam avadhyo ’yaṁ
dehe sarvasya bhārata
tasmāt sarvāṇi bhūtāni
na tvaṁ śocitum arhasi
เทหี นิตฺยมฺ อวโธฺย ’ยํ
เทเห สรฺวสฺย ภารต
ตสฺมาตฺ สรฺวาณิ ภูตานิ
น ตฺวํ โศจิตุมฺ อรฺหสิ
เทหี — เจ้าของร่างกายวัตถุ, นิตฺยมฺ — อมตะ, อวธฺยห์ — ไม่สามารถถูกสังหาร, อยมฺ — ดวงวิญญาณนี้, เทเห — ในร่างกาย, สรฺวสฺย — ของทุกคน, ภารต — ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต (ที่เกิด), — ไม่เคย, ตฺวมฺ — ท่าน, โศจิตุมฺ — โศกเศร้า, อรฺหสิ — สมควรได้รับ

คำแปล

โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต ดวงวิญญาณผู้พำนักอยู่ในร่างกายไม่มีวันถูกสังหาร ฉะนั้น เธอไม่จำเป็นต้องโศกเศร้ากับชีวิตของผู้ใด

คำอธิบาย

องค์ภควานฺ ทรงสรุปบทคำสอนเกี่ยวกับดวงวิญญาณทิพย์ที่เป็นอมตะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงด้วยการอธิบายดวงวิญญาณอมตะในวิธีต่างๆกันไว้ ที่นี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงสถาปนาว่าดวงวิญญาณเป็นอมตะและร่างกายไม่ถาวร ดังนั้น อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็น กฺษตฺริย จึงไม่ควรละทิ้งหน้าที่อันเนื่องมาจากความกลัวว่าพระอัยกา ภีษฺม และพระอาจารย์ โทฺรณ จะตายในสนามรบ ด้วยความน่าเชื่อถือขององค์ศฺรีกฺฤษฺณเราต้องเชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่แตกต่างไปจากร่างวัตถุไม่ใช่ว่าไม่มีดวงวิญญาณหรือลักษณะอาการของชีวิตเกิดขึ้นจากการผสมผสานของวัตถุเคมีที่มาถึงจุดอิ่มตัว แม้ว่าดวงวิญญาณจะเป็นอมตะแต่มิได้หมายความว่าจะสนับสนุนความรุนแรง แต่เมื่อมีความจำเป็นจริงๆในยามศึกสงครามซึ่งเราไม่สามารถจะห้ามได้ ความจำเป็นนั้นจะต้องมีความยุติธรรมโดยการได้รับอนุญาตจากองค์ภควานฺ มิใช่ทำตามอำเภอใจ