ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 38
sukha-duḥkhe same kṛtvā
lābhālābhau jayājayau
tato yuddhāya yujyasva
naivaṁ pāpam avāpsyasi
lābhālābhau jayājayau
tato yuddhāya yujyasva
naivaṁ pāpam avāpsyasi
สุข-ทุห์เข สเม กฺฤตฺวา
ลาภาลาเภา ชยาชเยา
ตโต ยุทฺธาย ยุชฺยสฺว
ไนวํ ปาปมฺ อวาปฺสฺยสิ
ลาภาลาเภา ชยาชเยา
ตโต ยุทฺธาย ยุชฺยสฺว
ไนวํ ปาปมฺ อวาปฺสฺยสิ
สุข — ความสุข, ทุห์เข — และความทุกข์, สเม — ในความสงบ, กฺฤตฺวา — ทำเช่นนั้น, ลาภ-อลาเภา — ทั้งกำไรและขาดทุน, ชย-อชเยา — ทั้งชัยชนะและพ่ายแพ้, ตตห์ — หลังจาก นั้น, ยุทฺธาย — เพื่อเห็นแก่การต่อสู้, ยุชฺยสฺว — ปฏิบัติ (การต่อสู้), น — ไม่เคย, เอวมฺ — ในทางนี้, ปาปมฺ — ผลแห่งบาป, อวาปฺสฺยสิ — เธอจะได้รับ
คำแปล
เธอจงสู้เพื่อการต่อสู้โดยไม่พิจารณาถึงความสุขหรือความทุกข์
คำอธิบาย
บัดนี้องค์ศฺรีกฺฤษฺณตรัสกับ อรฺชุน โดยตรงว่าควรสู้เพื่อการต่อสู้เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาให้มีสงครามนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความสุขหรือความทุกข์ ผลกำไรหรือขาดทุน ชัยชนะหรือพ่ายแพ้ ในกิจกรรมกฺฤษฺณจิตสำนึกทุกสิ่งทุกอย่างกระทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณจึงเป็นจิตสำนึกทิพย์ ดังนั้นจะไม่มีผลกรรมทางวัตถุ ผู้กระทำเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเองไม่ว่าในความดีหรือตัณหาจะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่ว แต่ผู้ที่ศิโรราบอย่างสมบูรณ์ในกิจกรรมกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่เป็นหนี้บุญคุณใคร หรือติดหนี้กรรมผู้ใดอีกต่อไปซึ่งไม่เหมือนกับการทำกิจกรรมธรรมดาทั่วไปได้กล่าวไว้ว่า
เทวรฺษิ-ภูตาปฺต-นฺฤณำ ปิตฺฤๅณำ
น กิงฺกโร นายมฺ ฤณี จ ราชนฺ
สรฺวาตฺมนา ยห์ ศรณํ ศรณฺยํ
คโต มุกุนฺทํ ปริหฺฤตฺย กรฺตมฺ
น กิงฺกโร นายมฺ ฤณี จ ราชนฺ
สรฺวาตฺมนา ยห์ ศรณํ ศรณฺยํ
คโต มุกุนฺทํ ปริหฺฤตฺย กรฺตมฺ
“ผู้ใดที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ มุกุนฺท อย่างสมบูรณ์ ยกเลิกหน้าที่อื่นทั้งหมดจะไม่ติดหนี้กรรมหรือหนี้บุญคุณผู้ใดอีกต่อไป แม้แต่เทวดา นักบวช บุคคลทั่วไป สังคญาติ มนุษยชาติ หรือบรรพบุรุษ” (ภาควต 11.5.41) นี่คือสิ่งที่องค์กฺฤษฺณทรงเปรยโดยอ้อมแด่ อรฺชุน ในโศลกนี้และจะอธิบายให้ละเอียดในโศลกต่อๆไป