ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 4

arjuna uvāca
kathaṁ bhīṣmam ahaṁ saṅkhye
droṇaṁ ca madhusūdana
iṣubhiḥ pratiyotsyāmi
pūjārhāv ari-sūdana
อรฺชุน อุวาจ
กถํ ภีษฺมมฺ อหํ สงฺเขฺย
โทฺรณํ จ มธุสูทน
อิษุภิห์ ปฺรติโยตฺสฺยามิ
ปูชารฺหาวฺ อริ-สูทน
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัสว่า, กถมฺ — อย่างไร, ภีษฺมมฺภีษฺม, อหมฺ — ข้าพเจ้า, สงฺเขฺย — ในการสู้รบ, โทฺรณมฺโทฺรณ, — เช่นกัน, มธุ-สูทน — โอ้ ผู้สังหาร มธุ, อิษุภิห์ — ด้วยลูกศร, ปฺรติโยตฺสฺยามิ — จะโต้ตอบ, ปูชา-อเรฺหา — ผู้ที่ควรเคารพบูชา, อริ-สูทน — โอ้ ผู้สังหารศัตรู

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ ผู้สังหารศัตรู โอ้ ผู้สังหาร มธุ ข้าจะตอบโต้ด้วยลูกศรในสนามรบกับ ภีษฺม และ โทฺรณ ผู้ที่ควรค่าแก่การได้รับการบูชาจากข้าพเจ้าได้อย่างไรกัน

คำอธิบาย

ผู้อาวุโสที่ควรเคารพ เช่น พระอัยกา ภีษฺม และพระอาจารย์ โทฺรณาจารฺย ควรได้รับการเคารพบูชาอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าท่านจะมาเพื่อสู้รบเราไม่ควรตอบโต้ ซึ่งเป็นมารยาทโดยทั่วไปที่ผู้อาวุโสไม่ควรถูกก้าวร้าวแม้แต่ด้วยเพียงคำพูดก็ตาม ถึงแม้บางครั้งพฤติกรรมของอาจารย์จะไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่ก็ไม่ควรได้รับการปฏิบัติตอบด้วยความก้าวร้าว แล้วจะให้ อรฺชุน ตอบโต้ท่านเหล่านี้ได้อย่างไร องค์กฺฤษฺณจะยอมทำร้ายพระอัยกา อุคฺรเสน หรือพระอาจารย์ สานฺทีปนิ มุนิ หรือไม่ ประการเหล่านี้เป็นข้อโต้แย้งบางประการที่ อรฺชุน เสนอแด่องค์กฺฤษฺณ