ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 44
bhogaiśvarya-prasaktānāṁ
tayāpahṛta-cetasām
vyavasāyātmikā buddhiḥ
samādhau na vidhīyate
tayāpahṛta-cetasām
vyavasāyātmikā buddhiḥ
samādhau na vidhīyate
โภไคศฺวรฺย-ปฺรสกฺตานำ
ตยาปหฺฤต-เจตสามฺ
วฺยวสายาตฺมิกา พุทฺธิห์
สมาเธา น วิธียเต
ตยาปหฺฤต-เจตสามฺ
วฺยวสายาตฺมิกา พุทฺธิห์
สมาเธา น วิธียเต
โภค — ความสุขทางวัตถุ, ไอศฺวรฺย — และความมั่งคั่ง, ปฺรสกฺตานามฺ — สำหรับผู้ที่ยึดติด, ตยา — ด้วยสิ่งเหล่านี้, อปหฺฤต-เจตสามฺ — สับสนในใจ, วฺยวสาย-อาตฺมิกา — ความมั่นใจอันแน่วแน่, พุทฺธิห์ — การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ, สมาเธา — ในการควบคุมจิตใจ, น — ไม่เคย, วิธียเต — เกิดขึ้น
คำแปล
ในใจของผู้ที่ยึดติดมากอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสและความมั่งคั่งทางวัตถุ
คำอธิบาย
สมาธิ หมายความว่า “จิตที่ตั้งมั่น” พจนานุกรมพระเวท นิรุกฺติ กล่าวว่า สมฺยคฺ อาธียเต ’สฺมินฺนฺ อาตฺม-ตตฺตฺว-ยาถาตฺมฺยมฺ “เมื่อจิตตั้งมั่นเพื่อให้เข้าใจตนเองเรียกว่าจิตนั้นอยู่ในสมาธิ” สมาธิ จะไม่เกิดขึ้นกับบุคคลผู้ฝักใฝ่ในความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุ หรือผู้ที่สับสนอยู่ในสิ่งอันไม่ถาวรเหล่านี้ พวกเขาถูกลงโทษด้วยขบวนการแห่งพลังงานวัตถุ