ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 48

yoga-sthaḥ kuru karmāṇi
saṅgaṁ tyaktvā dhanañ-jaya
siddhy-asiddhyoḥ samo bhūtvā
samatvaṁ yoga ucyate
โยค-สฺถห์ กุรุ กรฺมาณิ
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวา ธนญฺ-ชย
สิทฺธฺยฺ-อสิทฺโธฺยห์ สโม ภูตฺวา
สมตฺวํ โยค อุจฺยเต
โยค-สฺถห์ — แน่วแน่, กุรุ — ปฏิบัติ, กรฺมาณิ — หน้าที่ของเธอ, สงฺคมฺ — ความยึดติด, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, ธนมฺ-ชย — โอ้ อรฺชุน, สิทฺธิ-อสิทฺโธฺยห์ — ในความสำเร็จและล้มเหลว, สมห์ — สมดุล, ภูตฺวา — มาเป็น, สมตฺวมฺ — ความสงบ, โยคห์ — โยคะ, อุจฺยเต — เรียกว่า

คำแปล

จงปฏิบัติหน้าที่ของเธอด้วยความแน่วแน่ โอ้ อรฺชุน สลัดการยึดติดต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งปวง ความสงบอันมั่นคงเช่นนี้เรียกว่า โยคะ

คำอธิบาย

องค์กฺฤษฺณทรงตรัสแด่ อรฺชุน ว่าควรปฏิบัติโยคะ และโยคะที่ว่านี้คืออะไร โยค หมายถึงการตั้งสมาธิจิตอยู่ที่บุคลิกภาพสูงสุดด้วยการควบคุมประสาทสัมผัสที่คอยรบกวนอยู่เสมอ และใครคือบุคลิกภาพสูงสุด บุคลิกภาพสูงสุดคือองค์ภควานฺ เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ตรัสสั่งให้ อรฺชุน ต่อสู้ อรฺชุน จึงไม่เกี่ยวข้องกับผลของการต่อสู้ ผลกำไรหรือชัยชนะเป็นความรับผิดชอบขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน เพียงแต่ได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณ การปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณ คือ โยคะที่แท้จริง และวิธีการปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นเราจึงจะสามารถยกเลิกความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ เราต้องมาเป็นผู้รับใช้ขององค์กฺฤษฺณ หรือมาเป็นผู้รับใช้ของผู้รับใช้ขององค์กฺฤษฺณ นี่คือวิธีที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถช่วยให้เราได้ปฏิบัติโยคะ

อรฺชุน ทรงเป็น กฺษตฺริย ดังนั้นจึงร่วมอยู่ในสถาบัน วรฺณาศฺรม-ธรฺม ได้กล่าวไว้ใน วิษฺณุ ปุราณ ว่าจุดมุ่งหมายทั้งหมดใน วรฺณาศฺรม-ธรฺม คือการทำให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย ไม่มีใครควรทำให้ตนเองพึงพอใจเหมือนกฏเกณฑ์ในโลกวัตถุ แต่เราควรทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ดังนั้นเราต้องทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยมิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถปฏิบัติตามหลัก วรฺณาศฺรม-ธรฺม อย่างถูกต้องได้ ในทางอ้อม อรฺชุน ทรงได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติตามที่องค์กฺฤษฺณทรงสั่ง