ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 50
buddhi-yukto jahātīha
ubhe sukṛta-duṣkṛte
tasmād yogāya yujyasva
yogaḥ karmasu kauśalam
ubhe sukṛta-duṣkṛte
tasmād yogāya yujyasva
yogaḥ karmasu kauśalam
พุทฺธิ-ยุกฺโต ชหาตีห
อุเภ สุกฺฤต-ทุษฺกฺฤเต
ตสฺมาทฺ โยคาย ยุชฺยสฺว
โยคห์ กรฺมสุ เกาศลมฺ
อุเภ สุกฺฤต-ทุษฺกฺฤเต
ตสฺมาทฺ โยคาย ยุชฺยสฺว
โยคห์ กรฺมสุ เกาศลมฺ
พุทฺธิ-ยุกฺตห์ — ผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ชหาติ — สามารถขจัด, อิห — ในชีวิตนี้, อุเภ — ทั้งคู่, สุกฺฤต-ทุษฺกฺฤเต — ผลดีและผลเลว, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, โยคาย — เพื่อเห็นแก่การอุทิศตนเสียสละรับใช้, ยุชฺยสฺว — ปฏิบัติงานเช่นนั้น, โยคห์ — กฺฤษฺณจิตสำนึก, กรฺมสุ — ในกิจกรรมทั้งมวล, เกาศลมฺ — ศิลปะ
คำแปล
บุคคลผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะทำให้ตนเองหลุดพ้นไปจากผลกรรมทั้งดีและชั่วแม้ในชาตินี้
คำอธิบาย
แต่ละชีวิตได้สะสมผลกรรมต่างๆทั้งดีและชั่วนับตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงอยู่ในอวิชชาตลอดเวลาเกี่ยวกับสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของเรา อวิชชานี้สามารถขจัดออกไปได้ด้วยคำสั่งสอนของ ภควัท-คีตา ที่สอนให้เราศิโรราบต่อองค์ศฺรีกฺฤษฺณในทุกๆด้าน และมีอิสรภาพจากโซ่ตรวนในการเป็นเหยื่อแห่งกรรมและผลกรรมชาติแล้วชาติเล่า ดังนั้น อรฺชุน ทรงได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้บริสุทธิ์จากผลกรรม