ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 53

śruti-vipratipannā te
yadā sthāsyati niścalā
samādhāv acalā buddhis
tadā yogam avāpsyasi
ศฺรุติ-วิปฺรติปนฺนา เต
ยทา สฺถาสฺยติ นิศฺจลา
สมาธาวฺ อจลา พุทฺธิสฺ
ตทา โยคมฺ อวาปฺสฺยสิ
ศฺรุติ — ประทีปแห่งพระเวท, วิปฺรติปนฺนา — โดยไม่ถูกอิทธิพลแห่งผลทางวัตถุ, เต — ของเธอ, ยทา — เมื่อ, สฺถาสฺยติ — คงอยู่, นิศฺจลา — ไม่เคลื่อนที่, สมาเธา — ในจิตสำนึกทิพย์ หรือ กฺฤษฺณจิตสำนึก, อจลา — ความแน่วแน่, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ตทา — ในเวลานั้น, โยคมฺ — ความรู้แจ้งตนเอง, อวาปฺสฺยสิ — เธอจะบรรลุผล

คำแปล

เมื่อจิตใจของเธอไม่ถูกรบกวนจากสำนวนโวหารของคัมภีร์พระเวท และเมื่อจิตของเธอตั้งมั่นอยู่ในสมาธิเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เมื่อนั้นเธอได้บรรลุถึงจิตสำนึกทิพย์แล้ว

คำอธิบาย

เมื่อกล่าวว่าบุคคลนี้อยู่ในสมาธิ หรือ สมาธิ หมายความว่าผู้นั้นมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างบริบูรณ์ ผู้อยู่ใน สมาธิ ที่สมบูรณ์รู้แจ้งถึง พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ ความสมบูรณ์สูงสุดแห่งการรู้แจ้งแห่งตน คือการเข้าใจอย่างถูกต้องว่าตนเองเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณ ภารกิจเดียวของตนคือการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือสาวกผู้มีความมั่นคงต่อองค์ภควานฺจะไม่ถูกรบกวนจากสำนวนโวหารของคัมภีร์พระเวท หรือไปปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุให้เจริญขึ้นไปสู่สวรรค์ ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรามีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณโดยตรงและคำแนะนำทั้งหมดขององค์กฺฤษฺณ เราอาจเข้าใจได้จากระดับทิพย์นี้ด้วยการกระทำเช่นนี้เรามั่นใจได้ว่าจะบรรลุผลและได้รับความรู้ที่แท้จริงอย่างแน่นอน เราเพียงแต่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณหรือพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์