ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 54

arjuna uvāca
sthita-prajñasya kā bhāṣā
samādhi-sthasya keśava
sthita-dhīḥ kiṁ prabhāṣeta
kim āsīta vrajeta kim
อรฺชุน อุวาจ
สฺถิต-ปฺรชฺญสฺย กา ภาษา
สมาธิ-สฺถสฺย เกศว
สฺถิต-ธีห์ กึ ปฺรภาเษต
กิมฺ อาสีต วฺรเชต กิมฺ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, สฺถิต-ปฺรชฺญสฺย — ของผู้ที่สถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างมั่นคง, กา — อะไร, ภาษา — ภาษา, สมาธิ-สฺถสฺย — ของผู้ที่สถิตในสมาธิ, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ, สฺถิต-ธีห์ — ผู้ที่ตั้งมั่นในกฺฤษฺณจิตสำนึก, กิมฺ — อะไร, ปฺรภาเษต — พูด, กิมฺ — อย่างไร, อาสีต — คงอยู่เหมือนเดิม, วฺรเชต — เดิน, กิมฺ — อย่างไร

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ บุคคลที่จิตสำนึกซึมซาบอยู่กับองค์ภควานฺจะมีลักษณะอาการเช่นไร เขาจะพูดอย่างไร และจะใช้ภาษาอะไร เขาจะนั่ง และจะเดินอย่างไร

คำอธิบาย

ดังที่ทุกคนมีลักษณะอาการเฉพาะตนในสถานการณ์เฉพาะของตน ผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกก็มีธรรมชาติเฉพาะตนก็เช่นเดียวกัน เช่น การพูด การเดิน การคิด และความรู้สึก เป็นต้น คนรวยจะมีลักษณะอาการที่ส่อให้เห็นว่าเขาเป็นคนรวย คนเป็นโรคมีอาการที่แสดงให้รู้ว่าเขาเป็นโรค คนได้รับการศึกษาสูงก็มีลักษณะอาการของตน ดังนั้นผู้ที่มีจิตสำนึกทิพย์แห่งกฺฤษฺณก็มีลักษณะอาการเฉพาะตัวในการกระทำสิ่งต่างๆ เราสามารถทราบลักษณะอาการเฉพาะตัวนี้ได้จาก ภควัท-คีตา สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะพูดอย่างไร เพราะการพูดเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้กล่าวไว้ว่าคนโง่จะไม่มีใครรู้ถ้าหากเขาไม่พูด และคนโง่ที่แต่งตัวดีจะไม่มีใครรู้นอกจากเขาพูด ทันทีที่พูดออกมาเขาจะเปิดเผยตัวตนออกมา ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจนของผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกคือเขาจะพูดถึงแต่องค์กฺฤษฺณและเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณเท่านั้น ลักษณะอาการอื่นๆก็จะตามมาโดยปริยายดังจะกล่าวต่อไป