ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 55

śrī-bhagavān uvāca
prajahāti yadā kāmān
sarvān pārtha mano-gatān
ātmany evātmanā tuṣṭaḥ
sthita-prajñas tadocyate
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปฺรชหาติ ยทา กามานฺ
สรฺวานฺ ปารฺถ มโน-คตานฺ
อาตฺมนฺยฺ เอวาตฺมนา ตุษฺฏห์
สฺถิต-ปฺรชฺญสฺ ตโทจฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปฺรชหาติ — ยกเลิก, ยทา — เมื่อ, กามานฺ — ปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัส, สรฺวานฺ — ของสิ่งต่างๆทั้งหมด, ปารฺถ — โอ้ โอรสของพระนาง ปฺฤถา, มนห์-คตานฺ — การคาดคะเนทางจิตใจ, อาตฺมนิ — ในระดับที่บริสุทธิ์ของดวงวิญญาณ, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์, ตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, สฺถิต-ปฺรชฺญห์ — สถิตอยู่เหนือโลก, ตทา — ในเวลานั้น, อุจฺยเต — ถูกกล่าวไว้

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ ปารฺถ เมื่อบุคคลยกเลิกความปรารถนานานับปการเพื่อสนองประสาทสัมผัส ซึ่งเกิดขึ้นจากการคาดคะเนของจิต และเมื่อจิตบริสุทธิ์ขึ้นเขาจะพบแต่ความพึงพอใจในตนเองเท่านั้น กล่าวไว้ว่าบุคคลผู้นี้มีจิตสำนึกทิพย์ที่บริสุทธิ์

คำอธิบาย

ภาควต ยืนยันว่าบุคคลใดที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หรือมีการอุทิศตนรับใช้องค์ภควานฺจะมีคุณสมบัติที่ดีทั้งหมดของนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้สถิตในระดับทิพย์นี้จะไม่มีคุณสมบัติที่ดีเลยอย่างแน่นอน เพราะว่าเขาจะพึ่งแต่การคาดคะเนทางจิตใจของตนเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้อย่างถูกต้อง ที่นี้ว่าเราต้องยกเลิกความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นจากการคาดคะเนของจิตใจ ความต้องการทางประสาทสัมผัสนี้ไม่สามารถหยุดอย่างผิดธรรมชาติได้ แต่ทันทีที่เราเริ่มปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกความต้องการทางประสาทสัมผัสจะลดลงโดยปริยายโดยไม่ต้องพยายามเป็นพิเศษ ฉะนั้นเราจะต้องปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยไม่ลังเล เพราะการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้จะช่วยนำเราไปสู่ระดับจิตสำนึกทิพย์ทันที จิตวิญญาณที่พัฒนาสูงแล้วจะมีความพึงพอใจในตนเองเสมอด้วยจิตสำนึกที่ว่าตนเองเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานฺ บุคคลผู้สถิตในระดับทิพย์เช่นนี้จะไม่มีความต้องการทางประสาทสัมผัสอันเนื่องมาจากลัทธิวัตถุนิยมที่ไม่สำคัญ แต่เขาจะมีความสุขอยู่เสมอในสภาวะธรรมชาติแห่งการรับใช้องค์ภควานฺนิรันดร