ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 57

yaḥ sarvatrānabhisnehas
tat tat prāpya śubhāśubham
nābhinandati na dveṣṭi
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ยห์ สรฺวตฺรานภิเสฺนหสฺ
ตตฺ ตตฺ ปฺราปฺย ศุภาศุภมฺ
นาภินนฺทติ น เทฺวษฺฏิ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ยห์ — ผู้ซึ่ง, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, อนภิเสฺนหห์ — ไม่มีความรัก, ตตฺ — นั้น, ตตฺ — นั้น, ปฺราปฺย — ได้รับ, ศุภ — ดี, อศุภมฺ — ชั่ว, — ไม่เคย, อภินนฺทติ — สรรเสริญ, — ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — อิจฉา, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — ความรู้ที่สมบูรณ์, ปฺรติษฺฐิตา — มั่นคง

คำแปล

ในโลกวัตถุนี้ ผู้ที่ไม่เสน่หาต่อสิ่งดีหรือชั่วที่ตนเองอาจได้รับ ทั้งไม่ยกย่องหรือเหยียดหยาม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความแน่วแน่มั่นคงในความรู้อันสมบูรณ์

คำอธิบาย

จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกวัตถุอยู่เสมอซึ่งอาจจะดีหรือเลว ผู้ที่ไม่ถูกรบกวนจากการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเช่นนี้เป็นผู้ที่ไม่เสน่หากับความดีหรือความชั่วเข้าใจได้ว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกวัตถุจะมีทั้งดีและชั่วอยู่เสมอเพราะว่าโลกใบนี้เต็มไปด้วยสภาวะคู่ แต่ผู้ที่มั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่เสน่หากับความดีหรือความชั่ว เพราะเขาสนใจแต่องค์กฺฤษฺณผู้ทรงไว้ซึ่งความดีทั้งหมดอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์เท่านั้น จิตสำนึกในกฺฤษฺณเช่นนี้จะสถิตตนเองให้อยู่ในสภาวะทิพย์โดยสมบูรณ์ เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า สมาธิ