ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 58

yadā saṁharate cāyaṁ
kūrmo ’ṅgānīva sarvaśaḥ
indriyāṇīndriyārthebhyas
tasya prajñā pratiṣṭhitā
ยทา สํหรเต จายํ
กูรฺโม ’งฺคานีว สรฺวศห์
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถภฺยสฺ
ตสฺย ปฺรชฺญา ปฺรติษฺฐิตา
ยทา — เมื่อ, สํหรเต — ม้วนกลับ, — เช่นกัน, อยมฺ — เขา, กูรฺมห์ — เต่า, องฺคานิ — แขน ขา, อิว — เหมือน, สรฺวศห์ — ทั้งหมด, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัสต่างๆ, อินฺทฺริย-อรฺเถภฺยห์ — จากอายตะภายนอก, ตสฺย — ของเขา, ปฺรชฺญา — จิตสำนึก, ปฺรติษฺฐิตา — มั่นคง

คำแปล

ผู้ที่สามารถดึงประสาทสัมผัสของตนเองให้กลับมาจากอายตนะภายนอก ดังเช่นเต่าที่หดแขนขาเข้าไว้ในกระดอง เป็นผู้ที่มีความแน่วแน่มั่นคงในจิตสำนึกที่สมบูรณ์

คำอธิบาย

การทดสอบโยคี สาวก หรือดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งแห่งตน คือเขาจะสามารถควบคุมประสาทสัมผัสตามแผนของตนเองได้ อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่จะเป็นทาสของประสาทสัมผัสจึงให้ประสาทสัมผัสเป็นผู้นำทาง นี่คือคำตอบต่อคำถามที่ว่าโยคีนั้นสถิตอย่างไร ประสาทสัมผัสเปรียบเสมือนงูพิษที่ต้องการทำอะไรตามอำเภอใจอย่างไร้กฎเกณฑ์ โยคี หรือสาวกจะต้องเข็มแข็งมากในการควบคุมงูเหมือนกับหมองูผู้ไม่ยอมปล่อยให้งูเลื้อยไปอย่างอิสระ มีกฎเกณฑ์มากมายในพระคัมภีร์ที่เปิดเผยบ้างเป็นข้อห้าม บ้างเป็นข้อปฏิบัติ นอกจากว่าเราสามารถจะทำตามข้อห้ามและข้อปฏิบัติและควบคุมตนเองจากความสุขทางประสาทสัมผัสนั้นได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความแน่วแน่มั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตัวอย่างที่ดีที่สุด ที่นี้คือเต่า ไม่ว่าในขณะใดเต่าสามารถหดประสาทสัมผัสของตนเองให้เข้ามาอยู่ภายในกระดองและยืดออกมาใหม่เมื่อต้องการใช้งาน ทำนองเดียวกันประสาทสัมผัสของบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นจะใช้เฉพาะในจุดมุ่งหมายเพื่อรับใช้องค์ภควานฺเท่านั้นมิฉะนั้นก็จะดึงกลับมา อรฺชุน ทรงได้รับคำสั่งสอน ที่นี้ว่าให้ใช้ประสาทสัมผัสของพระองค์เพื่อรับใช้องค์ภควานฺ แทนที่จะใช้เพื่อความพึงพอใจของตนเอง การรักษาประสาทสัมผัสไว้เพื่อรับใช้องค์ภควานฺอยู่เสมอ คือตัวอย่างเปรียบเทียบกับเต่าที่สามารถรักษาประสาทสัมผัสของตนเองไว้ให้อยู่ภายในได้