ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 59

viṣayā vinivartante
nirāhārasya dehinaḥ
rasa-varjaṁ raso ’py asya
paraṁ dṛṣṭvā nivartate
วิษยา วินิวรฺตนฺเต
นิราหารสฺย เทหินห์
รส-วรฺชํ รโส ’ปฺยฺ อสฺย
ปรํ ทฺฤษฺฏฺวา นิวรฺตเต
วิษยาห์ — อาตนะภายนอกเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัส, วินิวรฺตนฺเต — ฝึกฝนเพื่อให้ละเว้นจาก, นิราหารสฺย — ด้วยข้อห้ามเชิงลบ, เทหินห์ — สำหรับร่างกาย, รส-วรฺชมฺ — ยกเลิกรส, รสห์ — ความสุขทางประสาทสัมผัส, อปิ — ถึงแม้ว่าจะมี, อสฺย — ของเขา, ปรมฺ — สิ่งที่สูงส่งกว่ามาก, ทฺฤษฺฏฺวา — โดยประสบการณ์, นิวรฺตเต — เขาหยุดจาก

คำแปล

ดวงวิญญาณในร่างอาจถูกควบคุมจากความสุขทางประสาทสัมผัส แม้รสของอายตนะภายนอกยังคงอยู่ แต่หยุดการกระทำเช่นนี้ได้ด้วยการได้สัมผัสกับรสที่สูงกว่าจะทำให้เขามีความมั่นคงในจิตสำนึก

คำอธิบาย

นอกจากว่าเราจะสถิตในระดับทิพย์มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัส วิธีการควบคุมความสุขทางประสาทสัมผัสด้วยกฎเกณฑ์เหมือนกับการจำกัดอาหารบางชนิดสำหรับผู้ป่วย อย่างไรก็ดีคนป่วยไม่ชอบทั้งการควบคุมและการสูญเสียรสอาหาร ในทำนองเดียวกันการจำกัดประสาทสัมผัสด้วยวิธีปฏิบัติธรรม เช่น อษฺฏางฺค-โยค ในเรื่องของ ยม, นิยม, อาสน, ปฺราณายาม, ปฺรตฺยาหาร, ธารณา, ธฺยาน ฯลฯ แนะนำไว้สำหรับผู้ด้อยปัญญาที่ไม่รู้อะไรดีไปกว่านี้ แต่สำหรับผู้ที่ได้รับรสแห่งความสง่างามของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าศฺรีกฺฤษฺณในขณะที่เจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึก จะไม่มีรสสำหรับสิ่งของวัตถุที่ตายซากอีกต่อไป ฉะนั้นข้อจำกัดมีไว้สำหรับนวกะผู้ด้อยปัญญาเพื่อให้ชีวิตก้าวหน้าในวิถีทิพย์ แต่การจำกัดเช่นนี้จะเป็นผลดีจนกระทั่งเราได้รับรสอันแท้จริงในกฺฤษฺณจิตสำนึก เมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างแท้จริงเราจะสูญเสียรสชาติในสิ่งที่ตายซากไปโดยปริยาย