ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 6
na caitad vidmaḥ kataran no garīyo
yad vā jayema yadi vā no jayeyuḥ
yān eva hatvā na jijīviṣāmas
te ’vasthitāḥ pramukhe dhārtarāṣṭrāḥ
yad vā jayema yadi vā no jayeyuḥ
yān eva hatvā na jijīviṣāmas
te ’vasthitāḥ pramukhe dhārtarāṣṭrāḥ
น ไจตทฺ วิทฺมห์ กตรนฺ โน ครีโย
ยทฺ วา ชเยม ยทิ วา โน ชเยยุห์
ยานฺ เอว หตฺวา น ชิชีวิษามสฺ
เต ’วสฺถิตาห์ ปฺรมุเข ธารฺตราษฺฏฺราห์
ยทฺ วา ชเยม ยทิ วา โน ชเยยุห์
ยานฺ เอว หตฺวา น ชิชีวิษามสฺ
เต ’วสฺถิตาห์ ปฺรมุเข ธารฺตราษฺฏฺราห์
น — ไม่, จ — เช่นกัน, เอตตฺ — นี้, วิทฺมห์ — เรารู้, กตรตฺ — ซึ่ง, นห์ — สำหรับเรา, ครียห์ — ดีกว่า, ยตฺ วา — หรือไม่, ชเยม — เราอาจมีชัย, ยทิ — ถ้า, วา — หรือ, นห์ — เรา, ชเยยุห์ — พวกเขามีชัย, ยานฺ — เขาเหล่านั้น, เอว — แน่นอน, หตฺวา — ด้วยการสังหาร, น — ไม่เคย, ชิชีวิษามห์ — เราต้องการที่จะมีชีวิตอยู่, เต — ทั้งหมด, อวสฺถิตาห์ — สถิตอยู่, ปฺรมุเข — ข้างหน้า, ธารฺตราษฺฏฺราห์ — โอรสของดริทะราชทระ
คำแปล
เราไม่ทราบว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงไม่ทราบว่าควรจะรบ และเสี่ยงในการเบียดเบียนผู้อื่นโดยไม่จำเป็นหรือไม่ ถึงแม้การทำศึกสงครามจะเป็นหน้าที่ของ กฺษตฺริย หรือควรจะหลีกเลี่ยงการรบ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยการภิกขาจาร หากไม่ได้รับชัยชนะการภิกขาจารก็เป็นหนทางเดียวที่จะประทังชีวิตอยู่ และชัยชนะก็มิใช่เป็นสิ่งแน่นอน เพราะก็ต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าชัยชนะกำลังรอพวกเขาอยู่ (การกระทำเช่นนี้สมเหตุสมผล) แต่หากเหล่าโอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร ตายในสนามรบก็จะลำบากมากที่จะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีพวกเขา ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้เปรียบเสมือนกับการพ่ายแพ้อีกอย่างหนึ่ง อรฺชุน ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบเช่นนี้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่เพียงแต่เป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ขององค์ภควานฺเท่านั้น แต่ยังมีความรู้แจ้งอย่างสูง และยังทรงสามารถควบคุมจิตใจ และประสาทสัมผัสของตนเองได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย ความปรารถนาของเขาที่จะอยากมีชีวิตอยู่ด้วยการภิกขาจาร (ขอทาน) แม้ตนได้กำเนิดในตระกูล กฺษตฺริย ก็เป็นข้อบ่งชี้อีกอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าอารจุนะทรงไม่ยึดติดและเป็นผู้มีคุณธรรมอย่างแท้จริงด้วยคุณสมบัติเหล่านี้บวกกับความศรัทธาที่มีต่อคำดำรัสของ ศฺรี กฺฤษฺณ (พระอาจารย์ทิพย์) จึงสรุปได้ว่า อรฺชุน ทรงมีความเหมาะสมเพื่อการหลุดพ้น หากเราไม่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสได้ทั้งหมด เราก็จะไม่มีโอกาสเจริญขึ้นมาสู่ระดับแห่งความรู้ได้ หากไม่มีความรู้ และการอุทิศตนเสียสละเราก็จะไม่มีโอกาสได้รับความหลุดพ้น อรฺชุน ทรงมีคุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ ซึ่งสำคัญกว่าคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ในความสัมพันธ์ทางวัตถุ