ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สอง
บทสรุป ภควัท-คีตา
โศลก 60
yatato hy api kaunteya
puruṣasya vipaścitaḥ
indriyāṇi pramāthīni
haranti prasabhaṁ manaḥ
puruṣasya vipaścitaḥ
indriyāṇi pramāthīni
haranti prasabhaṁ manaḥ
ยตโต หฺยฺ อปิ เกานฺเตย
ปุรุษสฺย วิปศฺจิตห์
อินฺทฺริยาณิ ปฺรมาถีนิ
หรนฺติ ปฺรสภํ มนห์
ปุรุษสฺย วิปศฺจิตห์
อินฺทฺริยาณิ ปฺรมาถีนิ
หรนฺติ ปฺรสภํ มนห์
ยตตห์ — ขณะที่พยายาม, หิ — แน่นอน, อปิ — ถึงแม้ว่า, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ปุรุษสฺย — ของมนุษย์, วิปศฺจิตห์ — เต็มไปด้วยความรู้ที่แยกแยะ, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, ปฺรมาถีนิ — เร่าร้อน, หรนฺติ — โยน, ปฺรสภมฺ — โดยการบังคับ, มนห์ — จิตใจ
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
มีนักบุญผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ และนักทิพย์นิยมมากมายที่พยายามเอาชนะประสาทสัมผัส แต่ถึงจะพยายามอย่างไรแม้แต่ผู้ที่เก่งกาจที่สุดบางครั้งยังพ่ายแพ้ตกลงมาเสพสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุอันเนื่องมาจากจิตใจที่หวั่นไหว แม้แต่ วิศฺวามิตฺร ผู้เป็นทั้งนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่และโยคีที่สมบูรณ์ได้ถูกนางเมนะคายั่วยวนให้ไปเสพสุขทางเพศ ถึงแม้ว่าโยคีพยายามที่จะควบคุมประสาทสัมผัสด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างหนักและฝึกโยคะด้วยวิธีการต่างๆ และแน่นอนว่ายังมีตัวอย่างคล้ายคลึงกันนี้อีกมากในประวัติศาสตร์โลก ฉะนั้นจึงเป็นการยากมากที่จะควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัสโดยไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หากไม่ใช้จิตใจทำสมาธิอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ เราก็จะไม่สามารถหยุดกิจกรรมทางวัตถุได้ ศฺรี ยามุนาจารฺย นักบุญและสาวกผู้ยิ่งใหญ่ได้ให้ตัวอย่างเชิงปฏิบัติดังนี้
ยทฺ-อวธิ มม เจตห์ กฺฤษฺณ-ปาทารวินฺเท
นว-นว-รส-ธามนฺยฺ อุทฺยตํ รนฺตุมฺ อาสีตฺ
ตทฺ-อวธิ พต นารี-สงฺคเม สฺมรฺยมาเน
ภวติ มุข-วิการห์ สุษฺฐุ นิษฺฐีวนํ จ
นว-นว-รส-ธามนฺยฺ อุทฺยตํ รนฺตุมฺ อาสีตฺ
ตทฺ-อวธิ พต นารี-สงฺคเม สฺมรฺยมาเน
ภวติ มุข-วิการห์ สุษฺฐุ นิษฺฐีวนํ จ
“ตั้งแต่นำจิตใจมาปฏิบัติรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ศฺรีกฺฤษฺณ อาตมาได้รับความสุขในอารมณ์ทิพย์ที่สดใหม่อยู่เสมอ เมื่อใดที่เริ่มคิดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง อาตมาจะเมินหน้าหนีทันที และถ่มน้ำลายให้กับความคิดเช่นนี้”
กฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสวยงามแบบทิพย์จนทำให้ความสุขทางวัตถุหมดรสชาติไปโดยปริยาย เหมือนกับคนที่หิวโหยเมื่อได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารในปริมาณที่เพียงพอจะรู้สึกพึงพอใจ มหาราช อมฺพรีษ ทรงได้รับชัยชนะจากโยคีผู้ยิ่งใหญ่ ดุรวาสา มุนิ เพียงเพราะว่าจิตใจของพระองค์ทรงปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก (ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยรฺ วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน )