ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 65

prasāde sarva-duḥkhānāṁ
hānir asyopajāyate
prasanna-cetaso hy āśu
buddhiḥ paryavatiṣṭhate
ปฺรสาเท สรฺว-ทุห์ขานำ
หานิรฺ อโสฺยปชายเต
ปฺรสนฺน-เจตโส หฺยฺ อาศุ
พุทฺธิห์ ปรฺยวติษฺฐเต
ปฺรสาเท — จากการได้รับพระเมตตาธิคุณอันล้นพ้นขององค์ภควานฺ, สรฺว — ทั้งหมด, ทุห์ขานามฺ — ความทุกข์ทางวัตถุ, หานิห์ — การทำลาย, อสฺย — ของเขา, อุปชายเต — เกิดขึ้น, ปฺรสนฺน-เจตสห์ — ของจิตใจที่มีความสุข, หิ — แน่นอน, อาศุ — เร็วๆนี้, พุทฺธิห์ — ปัญญา, ปริ — เพียงพอ, อวติษฺฐเต — มั่นคง

คำแปล

สำหรับผู้ที่มีความพึงพอใจ (ในกฺฤษฺณจิตสำนึก) ความทุกข์สามคำรบแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุจะไม่มีอีกต่อไป ในจิตสำนึกที่มีความพึงพอใจเช่นนี้ ในไม่ช้าปัญญาของเขาจะแน่วแน่มั่นคง