ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 66

nāsti buddhir ayuktasya
na cāyuktasya bhāvanā
na cābhāvayataḥ śāntir
aśāntasya kutaḥ sukham
นาสฺติ พุทฺธิรฺ อยุกฺตสฺย
น จายุกฺตสฺย ภาวนา
น จาภาวยตห์ ศานฺติรฺ
อศานฺตสฺย กุตห์ สุขมฺ
น อสฺติ — ไม่สามารถมี, พุทฺธิห์ — ปัญญาทิพย์, อยุกฺตสฺย — ของผู้ที่ไม่สัมพันธ์ (กับกฺฤษฺณจิตสำนึก), — ไม่, — และ, อยุกฺตสฺย — ของผู้ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึก, ภาวนา — จิตตั้งมั่น (ในความสุข), — ไม่, — และ, อภาวยตห์ — ของผู้ที่ไม่ตั้งมั่น, ศานฺติห์ — ความสงบ, อศานฺตสฺย — ของความไม่สงบ, กุตห์ — ที่ไหน, สุขมฺ — ความสุข

คำแปล

ผู้ที่ไม่เชื่อมสัมพันธ์กับองค์ภควาน (ในกฺฤษฺณจิตสำนึก) ไม่มีทั้งปัญญาทิพย์หรือจิตใจที่มั่นคง หากขาดสองสิ่งนี้แล้วจะหาความสงบไม่ได้ แล้วจะมีความสุขได้อย่างไรโดยปราศจากความสงบ

คำอธิบาย

หากเราไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่มีความสงบ บทที่ห้า (5.29) ได้ยืนยันว่าเมื่อเราเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญเพียงพระองค์เดียวจากผลดีแห่งพิธีบูชาและการบำเพ็ญเพียรทั้งหมด พระองค์ทรงเป็นเจ้าของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในจักรวาลทั้งหมด และพระองค์ทรงเป็นมิตรแท้ของมวลชีวิต ด้วยความเข้าใจเช่นนี้เท่านั้นเราจึงสามารถมีความสงบที่แท้จริงได้ ดังนั้นหากไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะไม่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดภายในจิตใจ ความวุ่นวายใจเกิดจากความต้องการจุดมุ่งหมายสูงสุดและเมื่อมั่นใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ ทรงเป็นเจ้าของ และทรงเป็นเพื่อนของทุกชีวิตและทุกสิ่ง ด้วยจิตใจอันแน่วแน่มั่นคงเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสงบ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติตนโดยไม่มีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณแน่นอนว่าจะต้องมีความทุกข์ ไร้ความสงบ ไม่ว่าเขาจะพยายามแสดงออกมาว่าชีวิตมีความสงบและมีความเจริญในวิถีทิพย์มากเพียงใด กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นสภาวะแห่งความสงบร่มเย็นที่ปรากฏอยู่ในตัวเองซึ่งสามารถบรรลุได้ด้วยการมาเชื่อมสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณเท่านั้น