ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 67

indriyāṇāṁ hi caratāṁ
yan mano ’nuvidhīyate
tad asya harati prajñāṁ
vāyur nāvam ivāmbhasi
อินฺทฺริยาณำ หิ จรตำ
ยนฺ มโน ’นุวิธียเต
ตทฺ อสฺย หรติ ปฺรชฺญำ
วายุรฺ นาวมฺ อิวามฺภสิ
อินฺทฺริยาณามฺ — ของประสาทสัมผัส, หิ — แน่นอน, จรตามฺ — ขณะที่ท่องไป, ยตฺ — กับสิ่งที่, มนห์ — จิตใจ, อนุวิธียเต — ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ, ตตฺ — นั้น, อสฺย — ของเขา, หรติ — นำไป, ปฺรชฺญามฺ — ปัญญา, วายุห์ — ลม, นาวมฺ — เรือ, อิว — เหมือน, อมฺภสิ — บนน้ำ

คำแปล

เสมือนดั่งเรือในกระแสน้ำที่ถูกลมพายุพัดพาไป แม้ประสาทสัมผัสเพียงส่วนเดียวที่เตลิดเปิดเปิงไปตามกระแสแห่งจิตใจ จะสามารถนำพาปัญญาของผู้นั้นให้ล่องลอยไปได้

คำอธิบาย

หากประสาทสัมผัสทั้งหมดมิได้ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ แม้ประสาทสัมผัสเพียงส่วนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสก็สามารถหันเหสาวกจากวิถีทางเพื่อความเจริญในวิถีทิพย์ได้ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในชีวิตของ มหาราช อมฺพรีษ ประสาทสัมผัสทั้งหมดจะต้องใช้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น เพราะนี่คือเทคนิคที่ถูกต้องในการควบคุมจิตใจ