ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สอง

บทสรุป ภควัท-คีตา

โศลก 9

sañjaya uvāca
evam uktvā hṛṣīkeśaṁ
guḍākeśaḥ paran-tapaḥ
na yotsya iti govindam
uktvā tūṣṇīṁ babhūva ha
สญฺชย อุวาจ
เอวมฺ อุกฺตฺวา หฺฤษีเกศํ
คุฑาเกศห์ ปรนฺ-ตปห์
น โยตฺสฺย อิติ โควินฺทมฺ
อุกฺตฺวา ตูษฺณีํ พภูว ห
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าวว่า, เอวมฺ — ดังนั้น, อุกฺตฺวา — ตรัส, หฺฤษีเกศมฺ — แด่องค์กฺฤษฺณ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส, คุฑาเกศห์อรฺชุน เจ้าแห่งผู้ขจัดอวิชชา, ปรมฺ-ตปห์ — ผู้กำราบศัตรู, น โยตฺเสฺย — ข้าพเจ้าจะไม่ต่อสู้, อิติ — ดังนั้น, โควินฺทมฺ — แด่องค์กฺฤษฺณ ผู้ให้ความสุขแด่ประสาทสัมผัส, อุกฺตฺวา — ตรัส, ตูษฺณีมฺ — นิ่งเงียบ, พภูว — มาเป็น, — แน่นอน

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า หลังจากตรัสเช่นนี้แล้ว อรฺชุน ผู้กำราบศัตรูตรัสต่อองค์กฺฤษฺณว่า “ข้าแต่องค์โควินฺท ข้าพเจ้าจะไม่รบ” และมีอาการสงบนิ่ง

คำอธิบาย

พระราชา ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงมีความยินดีมากที่รู้ว่า อรฺชุน ไม่ยอมที่จะรบ และจะหนีออกจากสนามรบเพื่อไปภิกขาจารหาเลี้ยงชีพ แต่ สญฺชย ได้ทำให้ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงผิดหวังอีกครั้งหนึ่งด้วยการกล่าว อรฺชุน ทรงมีความสามารถในการสังหารศัตรู (ปรนฺ-ตปห์) ถึงแม้ในตอนนี้ อรฺชุน จะเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกอันมิบังควรเนื่องจากความรักและความห่วงใยที่มีต่อครอบครัว อรฺชุน ทรงยอมศิโรราบมาเป็นสาวกขององค์กฺฤษฺณพระอาจารย์ทิพย์สูงสุด แสดงให้เห็นว่าในไม่ช้าจะเป็นอิสระจากความเศร้าโศกอันมิควรซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากความรักและความห่วงใยในครอบครัว และจะได้รับแสงสว่างจากความรู้อันสมบูรณ์ในการรู้แจ้งแห่งตนหรือ กฺฤษฺณจิตสำนึก จากนั้น อรฺชุน จะทรงลุกขึ้นมาสู้อย่างแน่นอน ดังนั้นความสุขของ ธฺฤตราษฺฏฺร ทรงถูกลบเลือนหายไปเพราะองค์กฺฤษฺณทรงทำให้ อรฺชุน ได้รับแสงสว่างและจะต่อสู้จนถึงที่สุด