ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 2

vyāmiśreṇeva vākyena
buddhiṁ mohayasīva me
tad ekaṁ vada niścitya
yena śreyo ’ham āpnuyām
วฺยามิเศฺรเณว วาเกฺยน
พุทฺธึ โมหยสีว เม
ตทฺ เอกํ วท นิศฺจิตฺย
เยน เศฺรโย ’หมฺ อาปฺนุยามฺ
วฺยามิเศฺรณ — ด้วยความไม่แน่นอน, อิว — แน่นอน, วาเกฺยน — คำพูด, พุทฺธิมฺ — ปัญญา, โมหยสิ — พระองค์ทรงสับสน, อิว — แน่นอน, เม — ของข้าพเจ้า, ตตฺ — ดังนั้น, เอกมฺ — ผู้เดียวเท่านั้น, วท — กรุณาตรัส, นิศฺจิตฺย — อย่างชัดเจน, เยน — ที่ซึ่ง, เศฺรยห์ — ประโยชน์อันแท้จริง, อหมฺ — ข้าพเจ้า, อาปฺนุยามฺ — อาจได้รับ

คำแปล

ปัญญาของข้าพเจ้าสับสนจากคำสั่งสอนที่ไม่แน่นอนของพระองค์ฉะนั้นทรงโปรดตรัสอย่างชัดเจนว่า อะไรคือสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับข้าพเจ้า

คำอธิบาย

บทที่ผ่านมาเป็นการเริ่มดำเนินเรื่องของ ภควัท-คีตา ซึ่งได้อธิบายถึงวิธีต่างๆ เช่น สางฺขฺย-โยค, พุทฺธิ-โยค หรือการควบคุมประสาท สัมผัสด้วยปัญญา การทำงานโดยไม่ปรารถนาผลทางวัตถุ และสถานภาพของผู้เริ่มฝึกปฏิบัติทั้งหมดนี้ได้เสนอไว้อย่างไม่เป็นระบบ วิธีจัดการให้เป็นระเบียบเรียบร้อยกว่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ ดังนั้น อรฺชุน ทรงปรารถนาจะขจัดสิ่งที่ดูเหมือนว่ายังสับสนอยู่และเพื่อบุคคลธรรมดาสามัญทั่วไปจะได้รับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องโดยไม่ตีความหมายอย่างผิดๆ ถึงแม้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่ตั้งใจที่จะทำให้ อรฺชุน รู้สึกสับสนด้วยสำนวนโวหาร อรฺชุน ทรงไม่สามารถเข้าใจในวิธีการของกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่รู้ว่าจะให้อยู่นิ่งเฉยหรือให้ปฏิบัติตนรับใช้ อีกนัยหนึ่งคือคำถามของ อรฺชุน จะทำให้วิธีการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกชัดเจนขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทั้งหลายผู้ที่มีความจริงจังจะได้เข้าใจความเร้นลับของ ภควัท-คีตา