ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 26

na buddhi-bhedaṁ janayed
ajñānāṁ karma-saṅginām
joṣayet sarva-karmāṇi
vidvān yuktaḥ samācaran
น พุทฺธิ-เภทํ ชนเยทฺ
อชฺญานำ กรฺม-สงฺคินามฺ
โชษเยตฺ สรฺว-กรฺมาณิ
วิทฺวานฺ ยุกฺตห์ สมาจรนฺ
— ไม่, พุทฺธิ-เภทมฺ — ความยุ่งของปัญญา, ชนเยตฺ — เขาอาจเป็นต้นเหตุ, อชฺญานามฺ — ของคนโง่, กรฺม-สงฺคินามฺ — ผู้ที่ยึดติดในผลของงาน, โชษเยตฺ — เขาควรจะประสาน, สรฺว — ทั้งหมด, กรฺมาณิ — งาน, วิทฺวานฺ — ผู้รู้, ยุกฺตห์ — ปฎิบัติ, สมาจรนฺ — ฝึกฝน

คำแปล

เพื่อไม่เป็นการรบกวนจิตใจของผู้อยู่ในอวิชชาที่ยึดติดต่อผลของงานในหน้าที่ที่กำหนดไว้ ผู้รู้ไม่ควรแนะนำให้พวกเขาหยุดทำงาน แต่ให้ทำงานในสปิริตแห่งการเสียสละ ควรแนะนำให้พวกเขาปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ (เพื่อค่อยๆพัฒนามาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึก)

คำอธิบาย

เวไทศฺ สไรฺวรฺ อหมฺ เอว เวทฺยห์ นี่คือจุดหมายปลายทางของพิธีกรรมทั้งหลายในคัมภีร์พระเวท พิธีกรรมทั้งหมด การปฏิบัติบูชาทั้งหมด และทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในคัมภีร์พระเวท รวมทั้งคำแนะนำทั้งหมดเพื่อกิจกรรมทางวัตถุ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เข้าใจองค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต แต่เนื่องจากพันธวิญญาณไม่รู้อะไรมากไปกว่าการสนองประสาทสัมผัสจึงศึกษาคัมภีร์พระเวทด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อสนองประสาทสัมผัส จากการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์และสนองประสาทสัมผัสที่ประมาณไว้โดยพิธีกรรมทางพระเวทเราจะค่อยๆพัฒนามาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ควรรบกวนผู้อื่นในกิจกรรมหรือความเข้าใจของพวกเขา แต่ควรปฏิบัติด้วยการแสดงให้เห็นว่าผลของงานทั้งหมดสามารถอุทิศเพื่อรับใช้องค์กฺฤษฺณได้อย่างไร บุคคลผู้รู้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจปฏิบัติในวิธีที่จะทำให้บุคคลผู้อยู่ในอวิชชา ซึ่งทำงานเพื่อสนองประสาทสัมผัสได้เรียนรู้ว่าควรทำงานและปฏิบัติตนอย่างไร ถึงแม้ว่าผู้ที่อยู่ในอวิชชาไม่ควรถูกรบกวนในกิจกรรมของเขา แต่บุคคลผู้พัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกแม้เพียงเล็กน้อยอาจปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺโดยตรงได้โดยไม่ต้องรอสูตรต่างๆจากคัมภีร์พระเวท สำหรับผู้โชคดีเช่นนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพิธีกรรมทางพระเวท เพราะจากการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงเราสามารถได้รับผลพวงทั้งหมดที่อาจจะได้รับจากการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้