ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 28

tattva-vit tu mahā-bāho
guṇa-karma-vibhāgayoḥ
guṇā guṇeṣu vartanta
iti matvā na sajjate
ตตฺตฺว-วิตฺ ตุ มหา-พาโห
คุณ-กรฺม-วิภาคโยห์
คุณา คุเณษุ วรฺตนฺต
อิติ มตฺวา น สชฺชเต
ตตฺตฺว-วิตฺ — ผู้รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์, ตุ — แต่, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยิ่งใหญ่, คุณ-กรฺม — งานภายใต้อิทธิพลของวัตถุ, วิภาคโยห์ — แตกต่างกัน, คุณาห์ — ประสาทสัมผัส, คุเณษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, วรฺตนฺเต — กำลังปฎิบัติ, อิติ — ดังนั้น, มตฺวา — ความคิด, — ไม่เคย, สชฺชเต — ยึดติด

คำแปล

โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม ผู้รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์จะไม่ปฏิบัติตนอยู่ในระดับประสาทสัมผัสและจะไม่สนองประสาทสัมผัส เขารู้ดีถึงข้อแตกต่างระหว่างงานเพื่อการอุทิศตนเสียสละ และงานเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ

คำอธิบาย

ผู้รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์มีความมั่นใจในสถานภาพอันแสนอึดอัดของตนในการที่มาคลุกคลีกับวัตถุ รู้ดีว่าตนเองเป็นละอองอณูของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณ และสถานภาพของตนไม่ควรอยู่ภายในการสร้างทางวัตถุ รู้ตัวจริงของตนเองว่าเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ผู้ทรงมีความสุขเกษมสำราญนิรันดรและทรงเป็นสัพพัญญู อย่างไรก็ดีเขายังรู้แจ้งอีกด้วยว่าตนเองมาติดกับดักในชีวิตที่มีแนวคิดทางวัตถุ ในสภาวะความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์เขาควรประสานกิจกรรมต่างๆของตนเพื่อการอุทิศเสียสละรับใช้องค์ภควานฺกฺฤษฺณ ดังนั้นจึงปฏิบัติตนในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก และโดยธรรมชาติจะไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางประสาทสัมผัสวัตถุ ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว ไม่ถาวร โดยรู้ดีว่าสภาวะวัตถุของชีวิตตนอยู่ภายใต้การควบคุมสูงสุดขององค์ภควานฺ ฉะนั้นจึงไม่ถูกรบกวนจากผลกรรมนานัปการทางวัตถุซึ่งพิจารณาว่าเป็นพระเมตตาธิคุณของพระองค์ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ กล่าวว่าผู้ที่รู้สัจธรรมอันสมบูรณ์ทั้งสามลักษณะ คือ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และองค์ภควานฺ เรียกว่า ตตฺตฺว-วิตฺ เพราะว่าเขารู้ถึงตำแหน่งอันแท้จริงของตนเองในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ