ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 31

ye me matam idaṁ nityam
anutiṣṭhanti mānavāḥ
śraddhāvanto ’nasūyanto
mucyante te ’pi karmabhiḥ
เย เม มตมฺ อิทํ นิตฺยมฺ
อนุติษฺฐนฺติ มานวาห์
ศฺรทฺธาวนฺโต ’นสูยนฺโต
มุจฺยนฺเต เต ’ปิ กรฺมภิห์
เย — ผู้ซึ่ง, เม — ของข้า, มตมฺ — คำสั่งสอน, อิทมฺ — เหล่านั้น, นิตฺยมฺ — เสมือนดังหน้าที่นิรันดร, อนุติษฺฐนฺติ — ปฎิบัติสม่ำเสมอ, มานวาห์ — มนุษย์, ศฺรทฺธา-วนฺตห์ — ด้วยความศรัทธาและอุทิศตนเสียสละ, อนสูยนฺตห์ — ไม่มีความอิจฉาริษยา, มุจฺยนฺเต — เป็นอิสระ, เต — ทั้งหมด, อปิ — แม้แต่, กรฺมภิห์ — จากพันธนาการแห่งกฎของการปฎิบัติเพื่อหวังผล

คำแปล

ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของข้า และปฏิบัติตามคำสั่งสอนนี้ด้วยความศรัทธา หากปราศจากความอิจฉาริษยาจะได้รับอิสรภาพจากพันธนาการแห่งการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

คำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณเป็นแก่นสารสาระสำคัญที่สุดของปรัชญาพระเวททั้งหมด ฉะนั้นจึงเป็นสัจธรรมอมตะโดยไม่มีข้อแม้ เฉกเช่นคัมภีร์พระเวทที่เป็นอมตะ สัจธรรมแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ก็เป็นอมตะเช่นเดียวกัน เราควรมีความศรัทธาอย่างแน่วแน่ในคำสั่งนี้โดยไม่อิจฉาริษยาองค์ภควานฺ มีนักปราชญ์มากมายเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา หากแต่ไม่มีความศรัทธาในองค์กฺฤษฺณนักปราชญ์เหล่านี้จะไม่มีวันได้รับอิสรภาพจากพันธนาการแห่งการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ หากสามัญชนทั่วไปมีความศรัทธาอย่างมั่นคงในคำสั่งอมตะขององค์ภควานฺแม้จะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งเหล่านี้ก็สามารถได้รับอิสรภาพจากพันธนาการของกฎแห่งกรรม (กรฺม) ได้ ในเบื้องต้นของกฺฤษฺณจิตสำนึกเราอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการที่เราไม่ขัดใจต่อหลักธรรมนี้และทำงานด้วยความจริงใจโดยไม่พิจารณาถึงเรื่องพ่ายแพ้และสิ้นหวัง แน่นอนว่าเราจะได้รับการส่งเสริมไปจนถึงระดับที่บริสุทธิ์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก