ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 33
sadṛśaṁ ceṣṭate svasyāḥ
prakṛter jñānavān api
prakṛtiṁ yānti bhūtāni
nigrahaḥ kiṁ kariṣyati
prakṛter jñānavān api
prakṛtiṁ yānti bhūtāni
nigrahaḥ kiṁ kariṣyati
สทฺฤศํ เจษฺฏเต สฺวสฺยาห์
ปฺรกฺฤเตรฺ ชฺญานวานฺ อปิ
ปฺรกฺฤตึ ยานฺติ ภูตานิ
นิคฺรหห์ กึ กริษฺยติ
ปฺรกฺฤเตรฺ ชฺญานวานฺ อปิ
ปฺรกฺฤตึ ยานฺติ ภูตานิ
นิคฺรหห์ กึ กริษฺยติ
สทฺฤศมฺ — ตามนั้น, เจษฺฏเต — พยายาม, สฺวสฺยาห์ — ด้วยตัวเขาเอง, ปฺรกฺฤเตห์ — ระดับของธรรมชาติ, ชฺญาน-วานฺ — มีความรู้, อปิ — ถึงแม้ว่า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, ยานฺติ — ได้รับ, ภูตานิ — มวลสิ่งมีชีวิต, นิคฺรหห์ — ความอดกลั้น, กิมฺ — อะไร, กริษฺยติ — สามารถทำ
คำแปล
แม้ผู้รู้ยังต้องปฏิบัติตามธรรมชาติของตนเอง
คำอธิบาย
นอกเสียจากว่าเราจะสถิตในระดับทิพย์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถมีอิสรภาพจากอิทธิพลของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ดังที่องค์ภควานฺได้ทรงยืนยันไว้ในบทที่เจ็ด (7.14) ฉะนั้นแม้ผู้มีการศึกษาสูงสุดทางโลกก็ยังหลุดพ้นจากบ่วงของมายาไม่ได้ ด้วยความรู้ทางทฤษฎี หรือด้วยการแยกดวงวิญญาณออกจากร่างกาย มีผู้ที่สมมุติว่าเป็นนักทิพย์นิยมมากมาย ภายนอกวางตัวว่ามีความเจริญในศาสตร์นี้ แต่ภายในหรือส่วนตัวยังอยู่ภายใต้ระดับใดระดับหนึ่งของธรรมชาติวัตถุอย่างราบคาบ ซึ่งตนเองไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ ในเชิงวิชาการเขาอาจจะเป็นผู้มีการศึกษาสูงมากแต่เนื่องจากมาคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติวัตถุอันแสนจะยาวนานจึงถูกพันธนาการ กฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถช่วยให้เราออกจากพันธนาการทางวัตถุได้ ถึงแม้ว่าเราจะปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามความเป็นอยู่ทางวัตถุ ฉะนั้นหากไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เราไม่ควรยกเลิกอาชีพการงาน ไม่มีผู้ใดควรยกเลิกหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้โดยฉับพลัน และไปสมมุติตนเองว่าเป็นโยคี หรือนักทิพย์นิยมแบบผิดธรรมชาติ การสถิตในสถานภาพของตนเองและพยายามบรรลุถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกภายใต้การฝึกฝนที่สูงยังจะดีกว่า เช่นนี้เราอาจได้รับอิสรภาพจากเงื้อมมือพระนาง มายา ซึ่งก็เป็นผู้รับใช้ขององค์กฺฤษฺณเช่นกัน