ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 34

indriyasyendriyasyārthe
rāga-dveṣau vyavasthitau
tayor na vaśam āgacchet
tau hy asya paripanthinau
อินฺทฺริยเสฺยนฺทฺริยสฺยารฺเถ
ราค-เทฺวเษา วฺยวสฺถิเตา
ตโยรฺ น วศมฺ อาคจฺเฉตฺ
เตา หฺยฺ อสฺย ปริปนฺถิเนา
อินฺทฺริยสฺย — ของประสาทสัมผัส, อินฺทฺริยสฺย อรฺเถ — ในอายตนะภายนอก, ราค — การยึดติด, เทฺวเษา — การไม่ยึดติดก็เช่นกัน, วฺยวสฺถิเตา — ไว้ภายใต้กฎเกณฑ์, ตโยห์ — ของเขาเหล่านั้น, — ไม่เคย, วศมฺ — ควบคุม, อาคจฺเฉตฺ — เราควรจจะมา, เตา — ของเขาเหล่านั้น, หิ — แน่นอน, อสฺย — ของเขา, ปริปนฺถิเนา — อุปสรรค

คำแปล

มีหลักการประมาณความยึดติดและความเกลียดชัง ที่เกี่ยวกับอายตนะภายในและอายตนะภายนอก เราไม่ควรไปอยู่ภายใต้การควบคุมของความยึดติดและความเกลียดชังเช่นนี้ เพราะมันเป็นอุปสรรคในความรู้แจ้งแห่งตน

คำอธิบาย

ผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยธรรมชาติจะไม่เต็มใจปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัสวัตถุ แต่ผู้ที่ไม่อยู่ในจิตสำนึกเช่นนี้ควรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ ความสุขทางประสาทสัมผัสที่ไม่มีขอบเขตเป็นเหตุให้ถูกกักขังทางวัตถุ แต่ผู้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ดังที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์จะไม่ถูกพันธนาการโดยอายตนะภายนอก ตัวอย่างเช่น ความสุขทางเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพันธวิญญาณ และความสุขทางเพศสัมพันธ์อนุโลมให้ภายใต้ใบอนุญาตสมรส คำสั่งสอนของพระคัมภีร์ห้ามไม่ให้เรามีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น นอกจากภรรยาของตนเองแล้วสตรีอื่นทั้งหมดถือว่าเป็นมารดา แม้มีคำสั่งเช่นนี้ผู้ชายยังมีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่น นิสัยเช่นนี้ต้องปรับปรุงมิฉะนั้นจะเป็นสิ่งกีดขวางทางในความรู้แจ้งแห่งตน ตราบเท่าที่เรายังมีร่างวัตถุอยู่ความจำเป็นต่างๆของร่างกายอนุญาตให้ได้ แต่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ และไม่ควรขึ้นอยู่กับการควบคุมกับสิ่งที่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ เราต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้โดยไม่ยึดติดกับมัน เพราะการฝึกฝนเพื่อสนองประสาทสัมผัสภายใต้กฎเกณฑ์อาจนำเราให้หลงทางได้เหมือนกัน มากเท่าๆกับที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเสมอแม้บนทางหลวงที่มีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้นแม้บนถนนที่ปลอดภัยที่สุด แนวโน้มในความสุขทางประสาทสัมผัสโดยประมาณก็มีโอกาสมากที่จะทำให้เราตกต่ำลงได้ ดังนั้นการยึดติดใดๆแม้กับความสุขทางประสาทสัมผัสโดยประมาณจะต้องหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางเช่นเดียวกัน แต่ควรยึดมั่นกับกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือปฏิบัติรับใช้องค์กฺฤษฺณด้วยความรักอยู่เสมอ และไม่ยึดติดกับกิจกรรมทางประสาทสัมผัสทุกชนิด ฉะนั้นไม่มีใครควรปลีกตัวออกห่างจากกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ว่าในช่วงไหนของชีวิต จุดมุ่งหมายในการเป็นอิสระจากการยึดติดอยู่กับประสาทสัมผัสทั้งหมดก็เพื่อในที่สุดให้เราได้สถิตในระดับกฺฤษฺณจิตสำนึก