ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 40
indriyāṇi mano buddhir
asyādhiṣṭhānam ucyate
etair vimohayaty eṣa
jñānam āvṛtya dehinam
asyādhiṣṭhānam ucyate
etair vimohayaty eṣa
jñānam āvṛtya dehinam
อินฺทฺริยาณิ มโน พุทฺธิรฺ
อสฺยาธิษฺฐานมฺ อุจฺยเต
เอไตรฺ วิโมหยตฺยฺ เอษ
ชฺญานมฺ อาวฺฤตฺย เทหินมฺ
อสฺยาธิษฺฐานมฺ อุจฺยเต
เอไตรฺ วิโมหยตฺยฺ เอษ
ชฺญานมฺ อาวฺฤตฺย เทหินมฺ
อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, อสฺย — ของราคะนี้, อธิษฺฐานมฺ — ที่พำนัก, อุจฺยเต — เรียกว่า, เอไตห์ — ด้วยทั้งหมดนี้, วิโมหยติ — สับสน, เอษห์ — ราคะนี้, ชฺญานมฺ — ความรู้, อาวฺฤตฺย — ปกคลุม, เทหินมฺ — ของร่างกาย
คำแปล
ประสาทสัมผัสต่างๆรวมทั้งจิตใจและปัญญาเป็นสถานที่พำนักพักพิงของตัวราคะนี้
คำอธิบาย
ศัตรู (ราคะ) ได้ยึดจุดยุทธศาสตร์ต่างๆภายในร่างกายของพันธวิญญาณ ดังนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงแนะนำสถานที่เหล่านี้เพื่อผู้ที่ต้องการกำราบศัตรูจะได้รู้ว่าศัตรูอยู่ที่ไหน จิตใจเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของประสาทสัมผัสทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราได้ยินเกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส โดยทั่วไปจิตใจจะเป็นที่รวมความคิดเพื่อสนองประสาทสัมผัสทั้งหมด ผลคือจิตใจและประสาทสัมผัสต่างๆ กลายเป็นศูนย์รวมของราคะ จากนั้นปัญญาก็กลายมาเป็นเมืองหลวงของนิสัยชอบราคะนี้ ปัญญาเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ชิดติดกับดวงวิญญาณ ปัญญาที่ชอบราคะจะมีอิทธิพลต่อดวงวิญญาณทำให้เกิดอหังการ และเชื่อมสัมพันธ์ตนเองกับวัตถุคือสัมพันธ์กับจิตใจและประสาทสัมผัส ดวงวิญญาณมาหลงติดกับความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุ และเข้าใจผิดคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง การแสดงตัวผิดของดวงวิญญาณนี้ได้อธิบายไว้อย่างงดงามใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.84.13) ดังนี้
ยสฺยาตฺม-พุทฺธิห์ กุณเป ตฺริ-ธาตุเก
สฺว-ธีห์ กลตฺราทิษุ เภาม อิชฺย-ธีห์
ยตฺ-ตีรฺถ-พุทฺธิห์ สลิเล น กรฺหิจิชฺ
ชเนษฺวฺ อภิชฺเญษุ ส เอว โค-ขรห์
สฺว-ธีห์ กลตฺราทิษุ เภาม อิชฺย-ธีห์
ยตฺ-ตีรฺถ-พุทฺธิห์ สลิเล น กรฺหิจิชฺ
ชเนษฺวฺ อภิชฺเญษุ ส เอว โค-ขรห์
“มนุษย์ผู้แสดงตนว่าร่างกายที่ทำมาจากธาตุสามประการนี้คือตัวตนจริง พิจารณาว่าผลผลิตของร่างกายเป็นสังคญาติของตน พิจารณาว่าแผ่นดินที่เกิดเป็นสถานที่สักการะบูชา และไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของผู้แสวงบุญเพียงเพื่อไปอาบน้ำ แทนที่จะไปพบผู้มีความรู้ทิพย์ พิจารณาได้ว่าบุคคลเช่นนี้เปรียบเสมือนกับลาหรือโค”