ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 43

evaṁ buddheḥ paraṁ buddhvā
saṁstabhyātmānam ātmanā
jahi śatruṁ mahā-bāho
kāma-rūpaṁ durāsadam
เอวํ พุทฺเธห์ ปรํ พุทฺธฺวา
สํสฺตภฺยาตฺมานมฺ อาตฺมนา
ชหิ ศตฺรุํ มหา-พาโห
กาม-รูปํ ทุราสทมฺ
เอวมฺ — ดังนั้น, พุทฺเธห์ — แด่ปัญญา, ปรมฺ — เหนือกว่า, พุทฺธฺวา — รู้, สํสฺตภฺย — ด้วยความมั่นคง, อาตฺมานมฺ — จิตใจ, อาตฺมนา — ด้วยปัญญาที่สุขุม, ชหิ — ได้ชัยชนะ, ศตฺรุมฺ — ศัตรู, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้เก่งกล้า, กาม-รูปมฺ — ในรูปของราคะ, ทุราสทมฺ — น่าสะพรึงกลัว

คำแปล

ดังนั้น เมื่อรู้ว่าตนเองเป็นทิพย์อยู่เหนือประสาทสัมผัสวัตถุ จิตใจ และปัญญา โอ้ อรฺชุน นักรบผู้เก่งกล้า เธอควรทำจิตใจให้แน่วแน่มั่นคงด้วยปัญญาทิพย์ที่สุขุม (กฺฤษฺณจิตสำนึก) และด้วยพลังทิพย์จงกำราบเจ้าตัวราคะ ศัตรูผู้ไม่รู้จักพอ

คำอธิบาย

บทที่สามของ ภควัท-คีตา นี้ได้นำเราไปถึงจุดสรุปของกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการรู้จักตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โดยไม่พิจารณาว่าในที่สุดคือความว่างเปล่าไร้บุคลิกภาพ ในชีวิตความเป็นอยู่ทางวัตถุแน่นอนว่าเราจะต้องได้รับอิทธิพลที่มีนิสัยชอบราคะ และต้องการมีอำนาจเหนือทรัพยากรธรรมชาติวัตถุ ความต้องการเป็นเจ้าเหนือหัว และต้องการสนองประสาทสัมผัสเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของพันธวิญญาณ แต่ด้วยพลังอำนาจแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเราสามารถควบคุมประสาทสัมผัสทางวัตถุ จิตใจ และปัญญาได้ เราอาจจะไม่ต้องยกเลิกการงานและหน้าที่ที่กำหนดไว้ทั้งหมดโดยฉับพลัน แต่ด้วยการพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกทีละน้อยเราจะสามารถสถิตในสถานภาพทิพย์โดยไม่ถูกอิทธิพลของประสาทสัมผัสวัตถุและจิตใจครอบงำ ด้วยปัญญาอันแน่วแน่มั่นคงจะนำเราไปสู่ตัวของเราเองที่บริสุทธิ์ นี่คือข้อสรุปของบทนี้ ในระดับความเป็นอยู่ทางวัตถุที่ยังไม่พัฒนาการคาดคะเนทางปรัชญา และความพยายามที่ฝืนธรรมชาติในการที่จะควบคุมประสาทสัมผัสด้วยการฝึกปฏิบัติสิ่งที่เรียกว่าท่าโยคะต่างๆจะไม่มีวันช่วยให้มาสู่ชีวิตทิพย์ เราจึงต้องได้รับการฝึกฝนในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยสติปัญญาที่สูงกว่า

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สาม ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง กรฺม-โยค