ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 5

na hi kaścit kṣaṇam api
jātu tiṣṭhaty akarma-kṛt
kāryate hy avaśaḥ karma
sarvaḥ prakṛti-jair guṇaiḥ
น หิ กศฺจิตฺ กฺษณมฺ อปิ
ชาตุ ติษฺฐตฺยฺ อกรฺม-กฺฤตฺ
การฺยเต หฺยฺ อวศห์ กรฺม
สรฺวห์ ปฺรกฺฤติ-ไชรฺ คุไณห์
— ไม่, หิ — แน่นอน, กศฺจิตฺ — ทุกคน, กฺษณมฺ — ชั่วครู่, อปิ — เช่นกัน, ชาตุ — ไม่ว่าในเวลาใด, ติษฺฐติ — คงอยู่, อกรฺม-กฺฤตฺ — ไม่ทำอะไร, การฺยเต — ถูกบังคับให้ทำ, หิ — แน่นอน, อวศห์ — อย่างช่วยไม่ได้, กรฺม — งาน, สรฺวห์ — ทั้งหมด, ปฺรกฺฤติ-ไชห์ — เกิดขึ้นจากระดับของธรรมชาติวัตถุ, คุไณห์ — โดยคุณสมบัติ

คำแปล

ทุกคนถูกบังคับให้ทำงานตามคุณสมบัติที่ตนได้รับมาจากระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุอย่างช่วยไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถหยุดการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้แม้แต่เพียงชั่วครู่

คำอธิบาย

มันไม่ใช่ร่างกายที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ แต่เป็นธรรมชาติของดวงวิญญาณต่างหาก หากไม่มีดวงวิญญาภายอยู่ในร่างกายแล้วร่างกายนั้นก็จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ร่างกายเป็นเพียงพาหนะที่ไร้ชีวิตที่จำเป็นต้องให้ดวงวิญญาณเป็นผู้สั่งงาน ดวงวิญญาณเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวอยู่เสมอไม่สามารถหยุดนิ่งได้แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ดวงวิญญาณควรปฏิบัติงานที่ดีในกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นดวงวิญญาณจะไปปฏิบัติในอาชีพการงานที่พลังงานแห่งความหลงเป็นผู้บงการ การไปสัมผัสกับพลังงานวัตถุนั้นดวงวิญญาณจะได้รับระดับแห่งวัตถุเข้ามา และการจะทำให้ดวงวิญญาณบริสุทธิ์ขึ้นจากความผูกพันเช่นนี้มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ใน ศาสฺตฺร หากดวงวิญญาณปฏิบัติหน้าที่ตามธรรมชาติของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก อะไรก็แล้วแต่ที่สามารถทำได้จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.5.17) ยืนยันไว้ดังนี้

ตฺยกฺตฺวา สฺว-ธรฺมํ จรณามฺพุชํ หเรรฺ
ภชนฺนฺ อปโกฺว ’ถ ปเตตฺ ตโต ยทิ
ยตฺร กฺว วาภทฺรมฺ อภูทฺ อมุษฺย กึ
โก วารฺถ อาปฺโต ’ภชตำ สฺว-ธรฺมตห์
“หากผู้ใดเริ่มรับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าเขาอาจจะไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน ศาสฺตฺร หรือไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างถูกต้อง และแม้ว่าเขาอาจจะตกลงต่ำกว่ามาตรฐานเขาจะไม่สูญเสียและไม่มีความชั่วร้ายสำหรับเขา แต่ถ้าหากว่าเขาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ ศาสฺตฺร ทั้งหมดเพื่อความบริสุทธิ์แล้วไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกตัวเขาจะได้รับประโยชน์อันใด” ดังนั้นวิธีการที่ทำให้บริสุทธิ์จึงมีความจำเป็นเพื่อที่จะมาถึงจุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้ ฉะนั้น สนฺนฺยาส หรือวิธีการที่ทำให้บริสุทธิ์อื่นใดก็เพื่อที่จะช่วยให้เราไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ถ้าหากว่าไปไม่ถึงจุดนั้นทุกสิ่งทุกอย่างถือว่าล้มเหลว