ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สาม
กรฺม-โยค
โศลก 6
karmendriyāṇi saṁyamya
ya āste manasā smaran
indriyārthān vimūḍhātmā
mithyācāraḥ sa ucyate
ya āste manasā smaran
indriyārthān vimūḍhātmā
mithyācāraḥ sa ucyate
กรฺเมนฺทฺริยาณิ สํยมฺย
ย อาเสฺต มนสา สฺมรนฺ
อินฺทฺริยารฺถานฺ วิมูฒาตฺมา
มิถฺยาจารห์ ส อุจฺยเต
ย อาเสฺต มนสา สฺมรนฺ
อินฺทฺริยารฺถานฺ วิมูฒาตฺมา
มิถฺยาจารห์ ส อุจฺยเต
กรฺม-อินฺทฺริยาณิ — อวัยวะประสาทสัมผัสสำหรับทำงานทั้งห้า, สํยมฺย — ควบคุม, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, อาเสฺต — ยังคง, มนสา — โดยจิตใจ, สฺมรนฺ — คิดถึง, อินฺทฺริย-อรฺถานฺ — รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส, วิมูฒ — ความโง่, อาตฺมา — ดวงวิญญาณ, มิถฺยา-อาจารห์ — ผู้เสแสร้ง, สห์ — เขา, อุจฺยเต — เรียกว่า
คำแปล
ผู้ที่เหนี่ยวรั้งการทำงานของประสาทสัมผัสแต่ว่าจิตใจยังจดจ่ออยู่ที่
คำอธิบาย
มีผู้เสแสร้งมากมายที่ปฏิบัติการทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก แต่จะแสดงท่าว่าเป็นนักปฏิบัติสมาธิในขณะที่ความเป็นจริงภายในจิตใจของเขาจดจ่ออยู่ที่ความสุขทางประสาทสัมผัส บางครั้งผู้เสแสร้งเช่นนี้อาจคุยปรัชญาอย่างลมๆแล้งๆเพื่อชักชวนศิษย์ผู้สับสนไปในทางที่ผิด แต่ตามโศลกนี้บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ฉ้อโกงอย่างมหันต์ เพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสแล้วนั้นคนเราสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมได้ แต่หากว่าเขาปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในระดับสังคมที่ตนเองอยู่เขาก็จะสามารถค่อยๆทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของตนบริสุทธิ์ขึ้นได้ แต่ถ้าเขาอวดตนว่าเป็นโยคีทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเขากำลังแสวงหาอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัสจะต้องถูกเรียกว่า เป็นผู้ฉ้อโกงอย่างมหันต์ แม้บางครั้งเขาอาจพูดคุยเกี่ยวกับปรัชญาแต่วิชาความรู้ของเขานั้นไร้คุณค่า เพราะว่าผลแห่งวิชาความรู้ของคนบาปเช่นนี้ได้ถูกพลังงานแห่งความหลงขององค์ภควานฺยึดเอาไปเสียแล้ว จิตใจของผู้เสแสร้งเช่นนี้จะไม่มีความบริสุทธิ์ ดังนั้นการแสดงออกว่าตนเองเป็นโยคี หรือนักทำสมาธิจะไม่มีคุณค่าอันใดเลย