ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 7

yas tv indriyāṇi manasā
niyamyārabhate ’rjuna
karmendriyaiḥ karma-yogam
asaktaḥ sa viśiṣyate
ยสฺ ตฺวฺ อินฺทฺริยาณิ มนสา
นิยมฺยารภเต ’รฺชุน
กรฺเมนฺทฺริไยห์ กรฺม-โยคมฺ
อสกฺตห์ ส วิศิษฺยเต
ยห์ — ผู้ซึ่ง, ตุ — แต่, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, มนสา — ด้วยจิตใจ, นิยมฺย — ประมาณ, อารภเต — เริ่มต้น, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, กรฺม-อินฺทฺริไยห์ — ด้วยอวัยวะประสาทสัมผัสที่ทำงาน, กรฺม-โยคมฺ — อุทิศตนเสียสละ, อสกฺตห์ — ไม่ยึดติด, สห์ — เขา, วิศิษฺยเต — ดีกว่าเป็นไหนๆ

คำแปล

อีกด้านหนึ่ง ถ้าหากผู้มีความจริงใจพยายามใช้จิตใจควบคุมประสาทสัมผัสที่ตื่นตัวและเริ่มปฏิบัติ กรฺม - โยค (ในกฺฤษฺณจิตสำนึก) โดยไม่ยึดติดบุคคลเช่นนี้สูงส่งกว่าเป็นไหนๆ

คำอธิบาย

แทนที่จะมาเป็นนักทิพย์นิยมจอมปลอมเพื่อมีชีวิตอยู่อย่างสำมะเลเทเมาและแสวงหาความสุขทางประสาทสัมผัสสู้อยู่ในธุรกิจของตนเอง และปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของชีวิตเพื่อให้ได้รับอิสรภาพจากพันธนาการทางวัตถุ และบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺจะดีกว่าเป็นไหนๆ สฺวารฺถ-คติ หรือจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์แห่งตนคือ การบรรลุถึงพระวิษณุ การวางรูปแบบสถาบัน วรฺณ และ อาศฺรม ทั้งหมดเพื่อช่วยให้เราบรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตนี้นั้นคฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุถึงจุดหมายปลายทางนี้ได้เช่นเดียวกัน ด้วยการประมาณการปฏิบัติรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เราสามารถใช้ชีวิตอยู่แบบควบคุมได้ดังที่ได้อธิบายไว้ใน ศาสฺตฺร ดำเนินธุรกิจของตนต่อไปโดยไม่ยึดติด และเจริญก้าวหน้าด้วยวิธีนี้ ผู้ที่มีความจริงใจปฏิบัติตามวิธีนี้สถิตในสถานภาพที่ดีกว่าผู้เสแสร้งจอมปลอมที่อวดอ้างตนเองว่าเป็นนักทิพย์นิยมเพื่อหลอกลวงประชาชนผู้พาซื่อโดยทั่วไปเป็นไหนๆ คนกวาดถนนผู้มีความจริงใจยังดีกว่านักปฏิบัติธรรมจอมปลอมที่ทำสมาธิเพียงเพื่อหาเลี้ยงชีพเท่านั้น