ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 8

niyataṁ kuru karma tvaṁ
karma jyāyo hy akarmaṇaḥ
śarīra-yātrāpi ca te
na prasidhyed akarmaṇaḥ
นิยตํ กุรุ กรฺม ตฺวํ
กรฺม ชฺยาโย หฺยฺ อกรฺมณห์
ศรีร-ยาตฺราปิ จ เต
น ปฺรสิเธฺยทฺ อกรฺมณห์
นิยตมฺ — กำหนด, กุรุ — ทำ, กรฺม — หน้าที่, ตฺวมฺ — ท่าน, กรฺม — งาน, ชฺยายห์ — ดีกว่า, หิ — แน่นอน, อกรฺมณห์ — ดีกว่าไม่ทำงาน, ศรีร — ร่างกาย, ยาตฺรา — รักษา, อปิ — แม้, — เช่นกัน, เต — ของท่าน, — ไม่เคย, ปฺรสิเธฺยตฺ — มีผล, อกรฺมณห์ — ไม่ทำงาน

คำแปล

จงปฏิบัติหน้าที่ของเธอที่ได้กำหนดไว้ การกระทำเช่นนี้ดีกว่าไม่ทำงาน เราไม่สามารถแม้แต่จะดำรงรักษาร่างกายนี้ไว้ได้โดยไม่ทำงาน

คำอธิบาย

มีนักปฏิบัติสมาธิจอมปลอมมากมายที่อวดอ้างตนอย่างผิดๆว่าตนเองอยู่ในตระกูลสูง และมีบุคคลผู้มีอาชีพสูงอวดอ้างอย่างผิดๆว่าตนเองได้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเห็นแก่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงไม่ปรารถนาให้ อรฺชุน มาเป็นผู้เสแสร้ง แต่พระองค์ทรงปรารถนาให้มาปฏิบัติหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับ กฺษตฺริย อรฺชุน ทรงเป็นคฤหัสถ์และเป็นขุนพลดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะดำรงรักษาตำแหน่งนี้ไว้ และปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาที่กำหนดไว้สำหรับ กฺษตฺริย ในฐานะคฤหัสถ์กิจกรรมเช่นนี้จะชะล้างจิตใจของบุคคลทางโลกให้ค่อยๆสะอาดขึ้นและมีอิสระจากมลทินทางวัตถุ สิ่งที่อ้างว่าเป็นการเสียสละที่ทำไปเพื่อหาเลี้ยงชีพนั้นองค์ภควานฺ หรือแม้แต่พระคัมภีร์ของศาสนาใดๆก็ไม่เห็นด้วย แต่ว่าเราจะต้องทำงานบางอย่างเพื่อดำรงรักษาร่างกายและดวงวิญญาณนี้ให้อยู่ด้วยกันจึงไม่ควรยกเลิกงานตามอำเภอใจโดยไม่มีการชะล้างนิสัยทางวัตถุให้บริสุทธิ์ขึ้น ไม่ว่าใครที่อยู่ในโลกวัตถุจะต้องมีนิสัยที่ไม่บริสุทธิ์อยากเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุ หรืออยากสนองประสาทสัมผัสของตนเองอย่างแน่นอน นิสัยที่ไม่ดีเช่นนี้ต้องทำให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ หากไม่ทำเช่นนี้เราไม่ควรพยายามอวดอ้างว่าเป็นนักทิพย์นิยมที่ยกเลิกกิจการงาน และยังชีพอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายของคนอื่น