ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สาม

กรฺม-โยค

โศลก 9

yajñārthāt karmaṇo ’nyatra
loko ’yaṁ karma-bandhanaḥ
tad-arthaṁ karma kaunteya
mukta-saṅgaḥ samācara
ยชฺญารฺถาตฺ กรฺมโณ ’นฺยตฺร
โลโก ’ยํ กรฺม-พนฺธนห์
ตทฺ-อรฺถํ กรฺม เกานฺเตย
มุกฺต-สงฺคห์ สมาจร
ยชฺญ-อรฺถาตฺ — ทำไปเพื่อ ยชฺญ หรือพระวิษฺณุ, กรฺมณห์ — ดีกว่างาน, อนฺยตฺร — มิฉะนั้น, โลกห์ — โลก, อยมฺ — นี้, กรฺม-พนฺธนห์ — พันธนาการด้วยงาน, ตตฺ — ของพระองค์, อรฺถมฺ — เพื่อประโยชน์, กรฺม — งาน, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, มุกฺต-สงฺคห์ — มีอิสระจากการคบหาสมาคม, สมาจร — ทำอย่างสมบูรณ์

คำแปล

งานที่ทำไปเพื่อเป็นการบูชาพระวิษฺณุจะต้องมีการปฏิบัติ มิฉะนั้นงานจะเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการในโลกวัตถุนี้ ดังนั้นโอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี จงปฏิบัติหน้าที่ของเธอที่กำหนดไว้เพื่อให้องค์ภควานทรงพอพระทัย ด้วยการกระทำเช่นนี้เธอจะมีอิสรภาพจากพันธนาการทางวัตถุอยู่ตลอดเวลา

คำอธิบาย

เนื่องจากเราจะต้องทำงานแม้เพื่อเป็นการดำรงรักษาอย่างง่ายๆให้กับร่างกาย หน้าที่ และคุณสมบัติที่กำหนดไว้สำหรับสถานภาพโดยเฉพาะในสังคมที่ได้จัดไว้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนี้ ยชฺญ หมายถึงพระวิษฺณุ หรือการปฏิบัติบูชา การปฏิบัติบูชาทั้งหมดก็เพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย คัมภีร์พระเวทกล่าวไว้ว่า ยชฺโญ ไว วิษฺณุห์ หมายความว่า เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันไม่ว่าเราจะปฏิบัติ ยชฺญ ที่กำหนดไว้ หรือรับใช้พระวิษฺณุโดยตรง ดังนั้นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นการปฏิบัติ ยชฺญ ดังที่อธิบายไว้ในโศลกนี้ สถาบัน วรฺณาศฺรม ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัยเช่นเดียวกัน วรฺณาศฺรมาจารวตา ปุรุเษณ ปรห์ ปุมานฺ / วิษฺณุรฺ อาราธฺยเต (วิษฺณุ ปุราณ 3.8.8)

ดังนั้นเราจะต้องทำงานเพื่อให้พระวิษฺณุทรงพอพระทัย งานใดๆก็ตามที่ทำในโลกวัตถุนี้จะเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วจะต้องมีผลกรรม ไม่ว่าผลกรรมใดก็ตามมันจะพันธนาการผู้กระทำ ฉะนั้นเราต้องทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อให้องค์กฺฤษฺณ หรือองค์วิษฺณุทรงพอพระทัย และในขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมเช่นนี้เราจะอยู่ในระดับหลุดพ้น นี่คือศิลปะอันยิ่งใหญ่ในการทำงาน ในขั้นต้นวิธีการนี้จำเป็นต้องมีผู้แนะนำที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติด้วยความอดทนขยันหมั่นเพียรมากภายใต้การแนะนำที่เชี่ยวชาญของสาวกขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ หรือภายใต้คำสั่งสอนโดยตรงขององค์กฺฤษฺณ (ซึ่ง อรฺชุน ทรงได้รับโอกาสปฏิบัติงานเช่นนี้) เราไม่ควรทำงานใดๆเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างควรทำไปเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะปกป้องเราจากผลกรรมหากแต่ยังจะค่อยๆยกระดับตัวเราไปสู่การรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อพระองค์ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่จะส่งเสริมเราให้ขึ้นไปถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺได้