ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 15

evaṁ jñātvā kṛtaṁ karma
pūrvair api mumukṣubhiḥ
kuru karmaiva tasmāt tvaṁ
pūrvaiḥ pūrva-taraṁ kṛtam
เอวํ ชฺญาตฺวา กฺฤตํ กรฺม
ปูไรฺวรฺ อปิ มุมุกฺษุภิห์
กุรุ กรฺไมว ตสฺมาตฺ ตฺวํ
ปูไรฺวห์ ปูรฺว-ตรํ กฺฤตมฺ
เอวมฺ — ดังนั้น, ชฺญาตฺวา — ทราบดี, กฺฤตมฺ — ปฏิบัติ, กรฺม — งาน, ปูไรฺวห์ — โดยผู้ที่เชื่อถือได้ในอดีต, อปิ — ที่จริง, มุมุกฺษุภิห์ — ผู้บรรลุความหลุดพ้น, กุรุ — เพียงปฏิบัติ, กรฺม — งานที่กำหนดไว้, เอว — แน่นอน, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, ตฺวมฺ — เธอ, ปูไรฺวห์ — โดยบรรพบุรุษ, ปูรฺว-ตรมฺ — ในโบราณกาล, กฺฤตมฺ — ได้ปฎิบัติ

คำแปล

ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นทั้งหลายในอดีตกาลปฏิบัติด้วยความเข้าใจในธรรมชาติทิพย์ของข้า ดังนั้นเธอควรปฏิบัติหน้าที่ของเธอ โดยการเจริญตามรอยพระบาทพวกท่าน

คำอธิบาย

มีมนุษย์อยู่สองประเภท บางคนเต็มไปด้วยมลพิษทางวัตถุปกคลุมอยู่ในหัวใจ และบางคนมีเสรีทางวัตถุ กฺฤษฺณจิตสำนึกจะมีคุณประโยชน์เท่ากันต่อบุคคลทั้งสองประเภทนี้ ผู้ที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกสามารถเข้ามาในสายของกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อเข้าขบวนการชะล้างทีละน้อย โดยการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ผู้ที่มีความสะอาดจากมลทินต่างๆแล้วอาจปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพื่อผู้อื่นอาจปฏิบัติกิจกรรมตามเป็นตัวอย่างและได้รับประโยชน์ คนโง่หรือนวกะในกฺฤษฺณจิตสำนึกชอบเกษียณตัวเองจากกิจกรรมต่างๆโดยยังไม่มีความรู้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเกษียณจากกิจกรรมในสมรภูมิแต่องค์ภควานฺทรงไม่อนุมัติ เราควรรู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไร สำหรับการเกษียณจากกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึก และไปนั่งอยู่ห่างๆแสดงท่าว่าตนเองมีกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้ไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติจริงในสนามกิจกรรมเพื่อองค์กฺฤษฺณ ที่นี้ อรฺชุน ทรงได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกตามรอยพระบาทสาวกขององค์กฺฤษฺณในอดีต เช่น สุริยเทพ องค์วิวสฺวานฺ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าองค์ภควานฺทรงทราบกิจกรรมทั้งหลายในอดีตของพระองค์รวมทั้งบุคคลต่างๆผู้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในอดีต ดังนั้นพระองค์ทรงแนะนำการปฏิบัติของสุริยเทพผู้ทรงเรียนศิลปะนี้จากพระองค์เมื่อหลายล้านปีก่อน นักศึกษาเช่นนี้ขององค์กฺฤษฺณได้ถูกกล่าวไว้ ที่นี้ว่าทรงเป็นผู้หลุดพ้น และปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่องค์กฺฤษฺณทรงกำหนดให้