ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 16

kiṁ karma kim akarmeti
kavayo ’py atra mohitāḥ
tat te karma pravakṣyāmi
yaj jñātvā mokṣyase ’śubhāt
กึ กรฺม กิมฺ อกรฺเมติ
กวโย ’ปฺยฺ อตฺร โมหิตาห์
ตตฺ เต กรฺม ปฺรวกฺษฺยามิ
ยชฺ ชฺญาตฺวา โมกฺษฺยเส ’ศุภาตฺ
กิมฺ — คืออะไร, กรฺม — การกระทำ, กิมฺ — คืออะไร, อกรฺม — การไม่ทำอะไร, อิติ — ดังนั้น, กวยห์ — ผู้มีปัญญา, อปิ — เช่นกัน, อตฺร — ในเรื่องนี้, โมหิตาห์ — สับสน, ตตฺ — นั้น, เต — แก่เธอ, กรฺม — งาน, ปฺรวกฺษฺยามิ — ข้าจะอธิบาย, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — รู้, โมกฺษฺยเส — เธอจะหลุดพ้น, อศุภาตฺ — จากโชคร้าย

คำแปล

แม้แต่ผู้มีปัญญายังสับสนในการพิจารณาว่าอะไรคือการกระทำ และอะไรคือการไม่กระทำ บัดนี้ข้าจะอธิบายแก่เธอว่ากรรม หรือการกระทำคืออะไร เมื่อรู้แล้วเธอจะหลุดพ้นจากโชคร้ายทั้งปวง

คำอธิบาย

งานในกฺฤษฺณจิตสำนึกต้องปฏิบัติตามตัวอย่างจากสาวกที่แท้จริงในอดีต ซึ่งได้แนะนำไว้แล้วในโศลกที่สิบห้า เหตุใดงานนี้จึงไม่ควรปล่อยให้เป็นอิสรเสรีจะอธิบายในโศลกต่อไป

การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นเราต้องปฏิบัติตามการนำทางของบุคคลผู้เชื่อถือได้ที่อยู่ในสายปรัมปรา ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้นของบทนี้ ระบบกฺฤษฺณจิตสำนึกครั้งแรกได้บรรยายให้สุริยเทพ และสุริยเทพทรงอธิบายให้พระโอรส มนุ มนุ ทรงอธิบายให้พระโอรส อิกฺษฺวากุ และจากโบราณกาลระบบนี้ได้อยู่บนโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติตามรอยพระบาทของบุคคลผู้เชื่อถือได้ในสายปรัมปรา มิฉะนั้นแม้แต่บุคคลผู้มีสติปัญญาสูงสุดจะสับสนเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ด้วยเหตุนี้องค์ภควานฺทรงตัดสินพระทัยสอนกฺฤษฺณจิตสำนึกแก่ อรฺชุน โดยตรง จากการตรัสสอนแก่ อรฺชุน โดยตรงเช่นนี้นั้นหากผู้ใดปฏิบัติตามรอยพระบาทของ อรฺชุน จะไม่สับสนอย่างแน่นอน

ได้กล่าวไว้ว่าเพียงความรู้จากการทดลองที่ไม่สมบูรณ์เราไม่สามารถค้นคว้าหาวิธีทางศาสนาได้ อันที่จริงองค์ภควานฺเท่านั้นที่ทรงสามารถวางหลักแห่งศาสนาได้ ธรฺมํ ตุ สากฺษาทฺ ภควตฺ-ปฺรณีตมฺ (ภาควต 6.3.19) ไม่มีผู้ใดสามารถสร้างหลักศาสนาจากการคาดคะเนที่ไม่สมบูรณ์ได้ เราต้องปฏิบัติตามรอยพระบาทของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่เชื่อถือได้ เช่น พระพรหม, พระศิวะ, นารท, มนุ, กุมาร, กปิล, ปฺรหฺลาท, ภีษฺม, ศุกเทว โคสฺวามี, ยมราช, ชนก และ พลิ มหาราช จากการคาดคะเนทางจิตเราไม่สามารถค้นคว้าว่าศาสนาหรือการรู้แจ้งแห่งตนนั้นคืออะไรได้ ดังนั้นด้วยพระเมตตาแก่สาวกองค์ภควานฺทรงอธิบายโดยตรงแก่ อรฺชุน ว่าอะไรคือการปฏิบัติ และอะไรคือการไม่ปฏิบัติ การปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นที่สามารถนำพาเราให้ออกจากพันธนาการแห่งชีวิตทางวัตถุได้