ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 17
karmaṇo hy api boddhavyaṁ
boddhavyaṁ ca vikarmaṇaḥ
akarmaṇaś ca boddhavyaṁ
gahanā karmaṇo gatiḥ
boddhavyaṁ ca vikarmaṇaḥ
akarmaṇaś ca boddhavyaṁ
gahanā karmaṇo gatiḥ
กรฺมโณ หฺยฺ อปิ โพทฺธวฺยํ
โพทฺธวฺยํ จ วิกรฺมณห์
คหนา กรฺมโณ คติห์
โพทฺธวฺยํ จ วิกรฺมณห์
คหนา กรฺมโณ คติห์
กรฺมณห์ — ของงาน, หิ — แน่นอน, อปิ — เช่นกัน, โพทฺธวฺยมฺ — ควรเข้าใจ, โพทฺธวฺยมฺ — ควรเข้าใจ, จ — เช่นกัน, วิกรฺมณห์ — ของงานต้องห้าม, อกรฺมณห์ — ของการไม่ทำ, จ — เช่นกัน, โพทฺธวฺยมฺ — ควรเข้าใจ, คหนา — ยากมาก, กรฺมณห์ — ของงาน, คติห์ — เข้า
คำแปล
ความละเอียดอ่อนของการปฏิบัติเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากมาก
คำอธิบาย
หากเรามีความจริงจังเกี่ยวกับความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ เราจะต้องเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างการกระทำ การไม่กระทำ และสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำ เราต้องใช้สติปัญญาของเราเองในการวิเคราะห์เรื่องกรรม ผลแห่งกรรม และกรรมที่ต้องห้ามเพราะว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก ในการเข้าใจกฺฤษฺณจิตสำนึกและการปฏิบัติตามระดับของตัวเองเราต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับองค์ภควานฺ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้ฝึกฝนเล่าเรียนจนรอบรู้ทราบดีว่าทุกๆชีวิตคือผู้รับใช้นิรันดรของพระองค์ และผลที่ตามมาคือเราต้องปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตลอดเล่ม ภควัท-คีตา จะนำเราไปถึงจุดสรุปนี้ จุดสรุปใดๆที่ขัดต่อจิตสำนึกนี้ และมีการปฏิบัติที่ตามมาเรียกว่า วิกรฺม หรือการปฏิบัติที่ต้องห้าม เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดอย่างถ่องแท้นั้นเราต้องคบหาสมาคมกับบุคคลผู้ที่เชื่อถือได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก และศึกษาความลับจากท่านเหล่านั้น การกระทำเช่นนี้ดีเท่าๆกับการเรียนจากองค์ภควานฺโดยตรง มิฉะนั้นแม้บุคคลผู้มีปัญญาสูงสุดก็จะยังสับสน