ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 18

karmaṇy akarma yaḥ paśyed
akarmaṇi ca karma yaḥ
sa buddhimān manuṣyeṣu
sa yuktaḥ kṛtsna-karma-kṛt
กรฺมณฺยฺ อกรฺม ยห์ ปเศฺยทฺ
อกรฺมณิ จ กรฺม ยห์
ส พุทฺธิมานฺ มนุเษฺยษุ
ส ยุกฺตห์ กฺฤตฺสฺน-กรฺม-กฺฤตฺ
กรฺมณิ — ในกรรม, อกรฺม — อกรรม, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ปเศฺยตฺ — สังเกต, อกรฺมณิ — ในอกรรม, — เช่นกัน, กรฺม — การกระทำเพื่อหวังผลทางวัตถุ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — เขา, พุทฺธิ-มานฺ — มีปัญญา, มนุเษฺยษุ — ในสังคมมนุษย์, สห์ — เขา, ยุกฺตห์ — อยู่ในสถานภาพทิพย์, กฺฤตฺสฺน-กรฺม-กฺฤตฺ — แม้ปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมทั้งหลาย

คำแปล

ผู้ที่เห็นอกรรมในกรรม และกรรมในอกรรม เป็นผู้มีปัญญาในหมู่มนุษย์และอยู่ในสถานภาพทิพย์ แม้จะปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมทั้งหลาย

คำอธิบาย

บุคคลผู้ปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยธรรมชาติจะหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกรรม กิจกรรมของเขาทั้งหมดปฏิบัติไปเพื่อองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจะไม่ได้รับความสุขหรือความทุกข์จากผลของงาน จึงเป็นผู้มีปัญญาในสังคมมนุษย์แม้ขณะปฏิบัติกิจกรรมอยู่มากมายเพื่อองค์กฺฤษฺณ อกรรมหมายถึงไม่มีผลกรรมจากการทำงาน มายาวาที หยุดกิจกรรมเพื่อหวังผลทางวัตถุอันเนื่องมาจากความกลัว และเพื่อผลกรรมจะไม่ไปกีดขวางทางเพื่อความรู้แจ้งตนเอง แต่ ภกฺต จะทราบดีถึงสถานภาพของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฉะนั้นจึงปฏิบัติอยู่ในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างกระทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณเขาจึงได้รับรสแห่งความสุขทิพย์อยู่กับการปฏิบัติรับใช้เช่นนี้เท่านั้น ผู้ที่ปฏิบัติอยู่ในขบวนการนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง ความรู้สึกที่ว่าตนเองเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณทำให้เขาปลอดภัยจากผลกรรมทั้งปวง