ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 20

tyaktvā karma-phalāsaṅgaṁ
nitya-tṛpto nirāśrayaḥ
karmaṇy abhipravṛtto ’pi
naiva kiñcit karoti saḥ
ตฺยกฺตฺวา กรฺม-ผลาสงฺคํ
นิตฺย-ตฺฤปฺโต นิราศฺรยห์
กรฺมณฺยฺ อภิปฺรวฺฤตฺโต ’ปิ
ไนว กิญฺจิตฺ กโรติ สห์
ตฺยกฺตฺวา — ได้ยกเลิก, กรฺม-ผล-อาสงฺคมฺ — การยึดติดต่อผลทางวัตถุ, นิตฺย — เสมอ, ตฺฤปฺตห์ — มีความพึงพอใจ, นิราศฺรยห์ — ไม่มีที่พึ่ง, กรฺมณิ — ในกิจกรรม, อภิปฺรวฺฤตฺตห์ — ปฏิบัติอย่างเต็มที่, อปิ — ถึงแม้ว่า, — ไม่, เอว — แน่นอน, กิญฺจิตฺ — ทุกสิ่ง, กโรติ — ทำ, สห์ — เขา

คำแปล

ปล่อยวางการยึดติดต่อผลของกิจกรรมทั้งปวง มีความพึงพอใจและมีอิสรเสรีอยู่เสมอ เขาจะไม่กระทำสิ่งใดๆเพื่อผลทางวัตถุถึงแม้จะปฏิบัติงานนานัปการ

คำอธิบาย

ความหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งกรรมเป็นไปได้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นเมื่อเราทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะปฏิบัติตนด้วยความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดังนั้นเขาไม่มีความเสน่หาต่อผลของการกระทำและไม่ยึดติด แม้แต่การดำรงชีวิตส่วนตัวของเขาเอง เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณเสมอเขาจึงไม่กระตือรือร้นที่จะสะสมสิ่งของหรือปกป้องสิ่งที่มีอยู่ แต่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดตามความสามารถของตนเอง นอกจากนั้นจะปล่อยให้ขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณ ผู้ที่ไม่ยึดติดเช่นนี้มีความหลุดพ้นจากผลกรรมไม่ว่าดีหรือชั่วประหนึ่งว่าตัวเขามิได้ทำอะไรเลย นี่คือเครื่องหมายของอกรรมหรือการกระทำที่ปราศจากผลกรรมทางวัตถุ ดังนั้นการกระทำใดๆที่ปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกจะพันธนาการผู้กระทำ และนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า วิกรฺม หรือวิกรรม ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว