ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 22

yadṛcchā-lābha-santuṣṭo
dvandvātīto vimatsaraḥ
samaḥ siddhāv asiddhau ca
kṛtvāpi na nibadhyate
ยทฺฤจฺฉา-ลาภ-สนฺตุษฺโฏ
ทฺวนฺทฺวาตีโต วิมตฺสรห์
สมห์ สิทฺธาวฺ อสิทฺเธา จ
กฺฤตฺวาปิ น นิพธฺยเต
ยทฺฤจฺฉา — จากครรลองของตัวมันเอง, ลาภ — กับผลกำไร, สนฺตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, ทฺวนฺทฺว — สิ่งคู่, อตีตห์ — ข้ามพ้น, วิมตฺสรห์ — ปราศจากความอิจฉาริษยา, สมห์ — มั่นคง, สิทฺเธา — ในความสำเร็จ, อสิทฺเธา — ความล้มเหลว, — เช่นกัน, กฺฤตฺวา — ทำ, อปิ — ถึงแม้ว่า, — ไม่เคย, นิพธฺยเต — มีผลกระทบ

คำแปล

ผู้มีความพึงพอใจกับผลกำไรที่ได้มาตามครรลองของตัวมันเอง ผู้เป็นอิสระจากสิ่งคู่ และไม่อิจฉาริษยา ผู้มีความมั่นคงทั้งในความสำเร็จและล้มเหลว ถึงแม้ปฏิบัติงานแต่จะไม่มีวันถูกพันธนาการ

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่พยายามมากแม้ในการดำรงรักษาร่างกาย เขาพึงพอใจกับผลกำไรที่ได้รับตามครรลองของตัวมันเอง เขาไม่ขอหรือว่าขอยืม แต่จะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามกำลังความสามารถของตน และมีความพึงพอใจกับสิ่งที่ตนได้รับจากการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ฉะนั้นจึงเป็นอิสระในการหาเลี้ยงชีพ เขาไม่ปล่อยให้สิ่งใดมากีดขวางการรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึก อย่างไรก็ดีสำหรับการรับใช้องค์ภควานฺเขาสามารถร่วมขบวนด้วยไม่ว่างานใดๆโดยไม่ให้สิ่งคู่ในโลกวัตถุมารบกวน สิ่งคู่ในโลกวัตถุรู้สึกได้ เช่น ความร้อนและความเย็น ความทุกข์และความสุข บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เหนือสิ่งคู่ เพราะไม่เคยลังเลที่จะปฏิบัติสิ่งใดก็ตามเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ ฉะนั้นเขาจึงมีความมั่นคงทั้งในความสำเร็จและล้มเหลว ลักษณะเหล่านี้ปรากฏให้เห็นเมื่อเรามีความรู้ทิพย์อย่างถ่องแท้