ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 23

gata-saṅgasya muktasya
jñānāvasthita-cetasaḥ
yajñāyācarataḥ karma
samagraṁ pravilīyate
คต-สงฺคสฺย มุกฺตสฺย
ชฺญานาวสฺถิต-เจตสห์
ยชฺญายาจรตห์ กรฺม
สมคฺรํ ปฺรวิลียเต
คต-สงฺคสฺย — ของผู้ที่ไม่ยึดติดกับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ, มุกฺตสฺย — ของผู้หลุดพ้น, ชฺญาน-อวสฺถิต — สถิตในความเป็นทิพย์, เจตสห์ — ปัญญาของเขา, ยชฺญาย — เพื่อ ยชฺญ (กฺฤษฺณ) , อาจรตห์ — กระทำ, กรฺม — งาน, สมคฺรมฺ — รวมทั้งหมด, ปฺรวิลียเต — กลืนไปทั้งหมด

คำแปล

งานของผู้ที่ไม่ยึดติดอยู่กับสามระดับของธรรมชาติวัตถุ และเป็นผู้สถิตในความรู้ทิพย์อย่างสมบูรณ์ ทั้งหมดจะรวมเข้าไปในความเป็นทิพย์

คำอธิบาย

การอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ทำให้เป็นอิสระจากสิ่งคู่ทั้งมวล ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากมลทินของระดับต่างๆทางวัตถุ และสามารถหลุดพ้นได้เพราะว่าเขาทราบถึงสถานภาพพื้นฐานของตนในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจิตใจของเขาจึงไม่หันเหไปจากกฺฤษฺณจิตสำนึก หลังจากนั้นไม่ว่าสิ่งใดที่ทำเขาจะทำเพื่อองค์กฺฤษฺณผู้ทรงเป็นพระวิชณุองค์แรก ฉะนั้นงานทั้งหมดโดยเทคนิคแล้วจะเป็นการบูชา เพราะว่าการบูชามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์ภควานฺ วิษฺณุ หรือกฺฤษฺณทรงพอพระทัย ผลกรรมทั้งหมดจากการทำงานเช่นนี้แน่นอนว่าจะรวมเข้าไปในความเป็นทิพย์ และเขาไม่ต้องรับทุกข์จากผลกระทบทางวัตถุ