ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 25

daivam evāpare yajñaṁ
yoginaḥ paryupāsate
brahmāgnāv apare yajñaṁ
yajñenaivopajuhvati
ไทวมฺ เอวาปเร ยชฺญํ
โยคินห์ ปรฺยุปาสเต
พฺรหฺมาคฺนาวฺ อปเร ยชฺญํ
ยชฺเญไนโวปชุหฺวติ
ไทวมฺ — ในการบูชาเทวดา, เอว — เช่นนี้, อปเร — บุคคลอื่นๆ, ยชฺญมฺ — การบูชา, โยคินห์ — โยคี, ปรฺยุปาสเต — บูชาอย่างสมบูรณ์, พฺรหฺม — ของสัจธรรมสูงสุด, อคฺเนา — ในไฟ, อปเร — ผู้อื่น, ยชฺญมฺ — บูชา, ยชฺเญน — ด้วยการบูชา, เอว — ดังนั้น, อุปชุหฺวติ — ถวาย

คำแปล

โยคีบางท่านบูชาเทวดาอย่างสมบูรณ์ด้วยการถวายเครื่องบูชาต่างๆให้เทวดา และโยคีบางท่านถวายการบูชาในไฟแห่ง พฺรหฺมนฺ สูงสุด

คำอธิบาย

ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเรียกว่าโยคี ผู้สมบูรณ์ หรือนักทิพย์นิยมชั้นหนึ่ง มีผู้อื่นที่ปฏิบัติการบูชาคล้ายคลึงกันนี้แต่บูชาเทวดา และยังมีผู้อื่นอีกที่บูชา พฺรหฺมนฺ สูงสุด หรือลักษณะที่ไร้รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ ดังนั้นจึงมีการบูชาประเภทต่างๆกัน ประเภทของการบูชาที่ต่างกันโดยผู้ปฏิบัติที่ต่างกันแสดงให้เห็นว่าการบูชาที่หลากหลายแตกต่างกันโดยผิวเผินเท่านั้น อันที่จริงการบูชาหมายถึงการทำให้องค์ภควานฺ พระวิษฺณุ ผู้ทรงมีอีกพระนามหนึ่งว่า ยชฺญ ทรงพอพระทัย การบูชาที่หลากหลายทั้งหมดนี้จัดเข้าอยู่ในสองประเภทหลักคือ การบูชาด้วยสิ่งของวัตถุทางโลก และการบูชาเพื่อผลแห่งความรู้ทิพย์ ผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกสละความเป็นเจ้าของวัตถุทั้งหลายเป็นการบูชาเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย ในขณะที่ผู้อื่นต้องการความสุขชั่วคราวทางวัตถุบูชาสิ่งของวัตถุเพื่อให้เทวดา เช่น พระอินทร์ พระอาทิตย์ ฯลฯ ทรงพอพระทัย และยังมี มายาวาที บูชารูปลักษณ์ของตนเองให้กลืนเข้าไปในความเป็นอยู่แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ เทวดาคือสิ่งมีชีวิตผู้มีพลังอำนาจที่องค์ภควานฺทรงแต่งตั้งให้ดำรงรักษา และบริหารหน้าที่ทั้งหลายในโลกวัตถุ เช่น ความร้อน น้ำ และแสงของจักรวาล ผู้ที่สนใจในผลประโยชน์ทางวัตถุจะบูชาเทวดาด้วยพิธีบูชาต่างๆ ตามพิธีกรรมพระเวทพวกนี้เรียกว่า พหฺวฺ-อีศฺวร-วาที หรือผู้เชื่อในเทวดาหลายองค์แต่พวกที่บูชาสัจธรรมสูงสุดที่ไร้รูปลักษณ์ และคิดว่ารูปลักษณ์ของเทวดาไม่ถาวรจะบูชาปัจเจกชีวิตของตนเองไปในไฟสูงสุด ดังนั้นจึงจบปัจเจกชีวิตของตนด้วยการกลืนหายเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควานฺ มายาวาที พวกนี้บูชาเวลาของพวกตนไปกับการคาดคะเนทางปรัชญา เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติทิพย์ของพระองค์หรืออีกนัยหนึ่งผู้ทำงานเพื่อหวังผลบูชาวัตถุสิ่งของของตนเพื่อความสุขทางวัตถุ ขณะที่ มายาวาที ถวายการบูชาชื่อระบุต่างๆทางวัตถุด้วยแนวคิดที่จะกลืนเข้าไปในความเป็นอยู่ขององค์ภควานฺ สำหรับ มายาวาที แท่นบูชาแห่งการบูชาไฟคือ พฺรหฺมนฺ สูงสุด และสิ่งของบูชาคือชีวิตของตนเองที่ถูกเผาผลาญไปในไฟแห่ง พฺรหฺมนฺ อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก เช่น อรฺชุน ทรงบูชาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัย ดังนั้นความเป็นเจ้าของวัตถุทั้งหลายรวมทั้งชีวิตของตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเครื่องบูชาสำหรับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงเป็นโยคีชั้นหนึ่งแต่ท่านมิได้สูญเสียความเป็นปัจเจกบุคคล