ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 3
sa evāyaṁ mayā te ’dya
yogaḥ proktaḥ purātanaḥ
bhakto ’si me sakhā ceti
rahasyaṁ hy etad uttamam
yogaḥ proktaḥ purātanaḥ
bhakto ’si me sakhā ceti
rahasyaṁ hy etad uttamam
ส เอวายํ มยา เต ’ทฺย
โยคห์ โปฺรกฺตห์ ปุราตนห์
ภกฺโต ’สิ เม สขา เจติ
รหสฺยํ หฺยฺ เอตทฺ อุตฺตมมฺ
โยคห์ โปฺรกฺตห์ ปุราตนห์
ภกฺโต ’สิ เม สขา เจติ
รหสฺยํ หฺยฺ เอตทฺ อุตฺตมมฺ
สห์ — เหมือนกัน, เอว — แน่นอน, อยมฺ — นี้, มยา — โดยข้า, เต — แก่เธอ, อทฺย — วันนี้, โยคห์ — ศาสตร์แห่งโยคะ, โปฺรกฺตห์ — ตรัส, ปุราตนห์ — โบราณมาก, ภกฺตห์ — สาวก, อสิ — เธอเป็น, เม — ของข้า, สขา — สหาย, จ — เช่นกัน, อิติ — ฉะนั้น, รหสฺยมฺ — ลึกลับ, หิ — แน่นอน, เอตตฺ — นี้, อุตฺตมมฺ — ทิพย์
คำแปล
ศาสตร์แห่งความสัมพันธ์กับองค์ภควานที่โบราณมากนั้น
คำอธิบาย
มีบุคคลอยู่สองประเภทคือ สาวกและมาร องค์ภควานฺทรงเลือก อรฺชุน ให้เป็นผู้รับศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้เนื่องจาก อรฺชุน ทรงเป็นสาวกของพระองค์ แต่สำหรับมารเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจศาสตร์อันเร้นลับที่ยิ่งใหญ่นี้ มีหนังสือแห่งความรู้ยิ่งใหญ่นี้หลายเล่มบางเล่มเป็นคำอธิบายของสาวก และบางเล่มเป็นคำอธิบายของมาร คำวิจารณ์ของสาวกเป็นความจริง ขณะที่คำวิจารณ์ของมารไร้ประโยชน์ อรฺชุน ทรงยอมรับองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และคำอธิบายใดๆเกี่ยวกับ คีตา ตามรอยพระบาทของ อรฺชุน เป็นการรับใช้อุทิศตนเสียสละต่อแหล่งกำเนิดของศาสตร์อันยิ่งใหญ่นี้ อย่างไรก็ดีมารไม่ยอมรับองค์ศฺรี กฺฤษฺณตามความเป็นจริงและกุเรื่องบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ อันจะนำพาผู้อ่านโดยทั่วไปให้ห่างจากวิถีทางที่องค์กฺฤษฺณทรงสั่งสอน ณ ที่นี้ได้เตือนเกี่ยวกับวิถีทางที่ผิดเช่นนี้ เราควรพยายามปฏิบัติตามสายปรัมปราจาก อรฺชุน และได้รับประโยชน์จากศาสตร์อันยิ่งใหญ่แห่ง ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา นี้