ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 33

śreyān dravya-mayād yajñāj
jñāna-yajñaḥ paran-tapa
sarvaṁ karmākhilaṁ pārtha
jñāne parisamāpyate
เศฺรยานฺ ทฺรวฺย-มยาทฺ ยชฺญาชฺ
ชฺญาน-ยชฺญห์ ปรนฺ-ตป
สรฺวํ กรฺมาขิลํ ปารฺถ
ชฺญาเน ปริสมาปฺยเต
เศฺรยานฺ — ยิ่งใหญ่กว่า, ทฺรวฺย-มยาตฺ — ของความเป็นเจ้าของวัตถุ, ยชฺญาตฺ — กว่าการถวายการบูชา, ชฺญาน-ยชฺญห์ — ถวายในความรู้, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้กำราบศัตรู, สรฺวมฺ — ทั้งหมด, กรฺม — กิจกรรม, อขิลมฺ — ในทั้งหมด, ปารฺถ — โอ้ โอรสของพระนาง ปฺฤถา, ชฺญาเน — ในความรู้, ปริสมาปฺยเต — สุดท้าย

คำแปล

โอ้ ผู้กำราบศัตรู การบูชาปฏิบัติไปด้วยความรู้ดีกว่าถวายการบูชาด้วยเพียงสิ่งของวัตถุเท่านั้น โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ในที่สุดการถวายการบูชาของงานทั้งหมดจะมาจบลงที่ความรู้ทิพย์

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายของการถวายบูชาทั้งหมดเพื่อให้มาถึงระดับแห่งความรู้อันสมบูรณ์ หลุดพ้นจากความทุกข์ทางวัตถุ และในที่สุดจะมาปฏิบัติรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ (กฺฤษฺณจิตสำนึก) ด้วยความรัก มีความเร้นลับเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในการถวายบูชาทั้งหมดนี้ และเราควรทราบความเร้นลับนี้ บางครั้งการถวายบูชามาในรูปแบบต่างๆกันตามความศรัธทาโดยเฉพาะของผู้ปฏิบัติ เมื่อความศรัทธาของเราไปถึงระดับแห่งความรู้ทิพย์ ผู้ปฏิบัติการถวายบูชาควรพิจารณาได้ว่าเป็นผู้ที่เจริญกว่า พวกที่เพียงแต่ถวายบูชาสิ่งของโดยไม่มีความรู้เช่นนี้ปราศจากความรู้ การถวายบูชายังคงอยู่ในระดับวัตถุและไม่ได้รับผลประโยชน์ทิพย์ ความรู้ที่แท้จริงคือการมาถึงจุดสุดยอดในกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นระดับสูงสุดของความรู้ทิพย์ ปราศจากการพัฒนาความรู้ การถวายบูชาเป็นเพียงกิจกรรมทางวัตถุ อย่างไรก็ดีเมื่อพัฒนาไปถึงระดับความรู้ทิพย์กิจกรรมทั้งหมดนั้นก็จะขึ้นไปสู่ระดับทิพย์ มันขึ้นอยู่กับจิตสำนึกที่แตกต่างกันกิจกรรมถวายการบูชาบางครั้งเรียกว่า กรฺม-กาณฺฑ (กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ) และบางครั้งเป็น ชฺญาน-กาณฺฑ (ความรู้เพื่อแสวงหาสัจธรรม) เมื่อในที่สุดมาจบลงที่ความรู้จะดีกว่า